อิทธิพลของเถ้าชีวมวลจากโรงไฟฟ้าต่อการเกิดความร้อนและการหดตัวของคอนกรีตชนิดอัดแน่นได้ด้วยตัวเอง

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งThanatorn Kumpeeyingcharoen; Mongkhon Narmluk;

ผู้เผยแพร่สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2020

ชื่อย่อของวารสารVE-irj

Volume number4

Issue number2

หน้าแรก14

หน้าสุดท้าย22

จำนวนหน้า9

นอก2586-9302

eISSN2697-4983

URLhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/ve-irj/article/view/243557

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาอิทธิพลของการใช้เถ้าชีวมวลแบบไม่บดที่มีต่อการเกิดความร้อนและการหดตัวแบบออโตจีนัสของคอนกรีตชนิดอัดแน่นได้ด้วยตัวเอง ในการทดลองได้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยเถ้าชีวมวลแบบไม่บด ในอัตราร้อยละ 0 10 และ 20 ของน้ำหนักวัสดุประสานรวม (500 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร) สมบัติของคอนกรีตที่ศึกษาประกอบด้วย อัตราความต้องการน้ำในการผสมคอนกรีต (w/p) เวลาไหลแผ่ถึงเส้นผ่านศูนย์กลาง 500 มิลลิเมตร (t500) อุณหภูมิที่เกิดจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่น และการหดตัวแบบออโตจีนัส ของคอนกรีต ผลงานวิจัยพบว่า เมื่อควบคุมค่าการไหลแผ่ให้เท่ากัน การแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยเถ้าชีวมวลในปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ค่า w/p เพิ่มขึ้นอย่างเป็นเชิงเส้น ระยะเวลาไหลแผ่ t500 ลดลง อุณหภูมิสูงสุดที่เกิดจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นมีค่าต่ำลง และมีค่าการหดตัวแบบออโตจีนัสลดลง แสดงให้เห็นว่าการใช้เถ้าชีวมวลแบบไม่บดในการผลิตคอนกรีตชนิดอัดแน่นได้ด้วยตัวเองได้ สามารถช่วยลดอุณหภูมิภายในและการหดตัวแบบออโตจีนัสได้ซึ่งเป็นสาเหตุของการแตกร้าวในช่วงอายุต้นได้เป็นอย่างดี


คำสำคัญ

คอนกรีตชนิดอัดแน่นได้ด้วยตัวเอง, เถ้าชีวมวล, การไหลแผ่, ความร้อนเนื่องจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่น, การหดตัวแบบออโตจีนัสภาควิชครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


อัพเดทล่าสุด 2023-03-08 ถึง 23:05