ลักษณะของผู้ใช้รถไฟฟ้าที่มีผลต่อการใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้า

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งViroat Srisurapanon

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

วารสารKMUTT Research and Development Journal (0125-278X)

Volume number44

Issue number1

หน้าแรก673

หน้าสุดท้าย692

จำนวนหน้า20

นอก0125-278X

URLhttps://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/loadfile.php?A_ID=977

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้าเป็นวิธีการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากจะเป็นการประหยัดพลังงานและลดปัญหามลพิษทางอากาศแล้วยังช่วยให้ผู้เดินทางมีโอกาสได้ทำกิจกรรมทางกายและมีสุขภาพดีอีกด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ใช้รถไฟฟ้าที่มีผลต่อการใช้จักรยานไปยังสถานีรถไฟฟ้า โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้ที่อาศัยรอบสถานีรถไฟฟ้าในระยะไม่เกิน 3 กิโลเมตรและสัมภาษณ์ผู้ใช้รถไฟฟ้าที่สถานีรถไฟฟ้า จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ในปัจจุบันผู้ที่อาศัยรอบสถานีรถไฟฟ้าร้อยละ 58.0 ใช้รถส่วนตัวสำหรับการเดินทางหลัก มีการใช้รถไฟฟ้าเพียงร้อยละ 12.7 รูปแบบการเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าที่นิยมมากที่สุดคือการเดินและการใช้รถจักรยานยนต์รับจ้าง (ร้อยละ 32.6 และ 22.5 ตามลำดับ) ในขณะที่มีผู้ใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้าเพียงแค่ร้อยละ 5.5 และจากการวิเคราะห์ลักษณะของผู้ใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้า สังเกตได้ว่าลักษณะที่สำคัญของผู้ที่ใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้า ได้แก่ การมีจักรยานในครอบครอง การใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน และประสบการณ์ในการใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้า


คำสำคัญ

การเข้าถึงสถานีการใช้จักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้าการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค


อัพเดทล่าสุด 2022-18-07 ถึง 23:05