การวิเคราะห์เชิงตัวเลขของผลตอบสนองอุโมงค์ แบบชิ้นส่วนประกอบเนื่องจากเสาเข็มรับแรงข้างเคียง

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งSomchai Jirawattanakran;Kisada Trakoonjannak;Pornkasem Jongpradist

ผู้เผยแพร่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2020

Volume number27

Issue number2

หน้าแรก28

หน้าสุดท้าย38

จำนวนหน้า11

นอก0857-2178

eISSN2672-9695

URLhttps://ph01.tci-thaijo.org/index.php/EngJCMU/issue/view/16548/3916


บทคัดย่อ

บทความนี้วิเคราะห์ผลกระทบของเสาเข็มรับแรงต่อผลตอบสนองในอุโมงค์แบบชิ้นส่วนประกอบที่อยู่ข้างเคียง โดยให้ความสำคัญแก่การเปรียบเทียบระหว่างการจำลองอุโมงค์เป็นแบบผนังต่อเนื่องกับแบบชิ้นส่วนประกอบ และปัจจัยอิทธิพลต่างๆโดยเฉพาะตำแหน่งชิ้นส่วนคีย์เซ็กเมนต์สัมพัทธ์กับตำแหน่งของปลายเสาเข็ม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผลตอบสนองในอุโมงค์แบบชิ้นส่วนประกอบแตกต่างกับของอุโมงค์ที่จำลองแบบต่อเนื่อง โดยการเสียรูปของผนังอุโมงค์แบบชิ้นส่วนประกอบมีค่ามากกว่าการเสียรูปของผนังอุโมงค์แบบต่อเนื่องทั้งในขั้นตอนหลังการก่อสร้างและมีเสาเข็มรับแรงอยู่ด้านข้าง ในทางตรงกันข้ามแรงภายในของโครงสร้างผนังอุโมงค์แบบชิ้นส่วนประกอบมีค่าน้อยกว่าแรงภายในโครงสร้างผนังอุโมงค์แบบต่อเนื่อง พฤติกรรมดังกล่าวมีสาเหตุจากผลกระทบของข้อต่อ ส่งผลให้ผนังอุโมงค์แบบชิ้นส่วนประกอบมีความยืดหยุ่นสูงขึ้น นอกจากนี้ตำแหน่งของชิ้นส่วนคีย์เซ็กเมนต์ของผนังอุโมงค์ที่สัมพัทธ์กับตำแหน่งของปลายเสาเข็ม มีบทบาทสำคัญต่อทั้งการเสียรูปโดยรวม เฉพาะที่ และแรงภายในของผนังอุโมงค์


คำสำคัญ

ผนังอุโมงค์แบบชิ้นส่วนผลกระทบเสาเข็มอุโมงค์


อัพเดทล่าสุด 2023-06-01 ถึง 23:05