การใช้วัสดุพื้นถิ่นเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำในบ่ออนุบาลกุ้งกุลาดำ

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งSoydoa Vinitnantharat;Rattikan Neamchan;Pavinee Pattanachan;Bundit Tirachulee;Thanee Dawrueng;Sivawan Phoolphundh;Jirataya Pansuk

ผู้เผยแพร่เครือข่ายบริหารการวิจัย

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2020

Volume number8

Issue number1

หน้าแรก184

หน้าสุดท้าย197

จำนวนหน้า14

นอก2630-2443

eISSN2630-0451

URLhttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/244592

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้วัสดุพื้นถิ่นได้แก่ เปลือกหอยแครง เปลือกหอยแมลงภู่ ถ่านไม้โกงกาง และเปลือกไม้โกงกาง จาก จ.สมุทรสงคราม  เพื่อศึกษาการดูดซับและปลดปล่อยธาตุอาหารในระดับห้องปฏิบัติการ ด้วยการใช้วัสดุพื้นถิ่น 300 กรัม ใส่ในถังชนาด 15 ลิตรบรรจุน้ำกร่อยธรรมชาติ สังเกตความเข้มข้นของธาตุอาหาร เป็นระยะเวลา 5 วัน  และศึกษาการใช้วัสดุพื้นถิ่นร่วมกับการอนุบาลกุ้งทะเลในบ่อเพาะเลี้ยง ผลการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่ามีเพียงเปลือกหอยแมลงภู่และเปลือกไม้โกงกางที่ดูดซับแอมโมเนียได้ในช่วงวันแรก จากนั้นวัสดุพื้นถิ่นทั้ง 4 ชนิดจะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมา โดยเปลือกหอยแครง  เปลือกหอยแมลงภู่ ถ่านไม้โกงกาง และเปลือกไม้โกงกางปลดปล่อยธาตุอาหารอนินทรีย์ไนโตรเจนต่อฟอสเฟต เท่ากับ 10:1, 8:1, 4.6:1 และ 1:2 ตามลำดับ เมื่อนำถ่านไม้โกงกาง และเปลือกหอยแมลงภู่ ปริมาณ  10.8 และ 2 กิโลกรัม มาใช้ร่วมในการอนุบาลลูกพันธุ์กุ้งในกระชัง 2,500 ตัวในพื้นที่ 2 ตารางเมตร พบว่า การใส่วัสดุพื้นถิ่นดังกล่าว ช่วยเพิ่มความยาวเฉลี่ยกุ้งได้ โดยมีความยาวมากกว่าลูกกุ้งในกระชังควบคุมที่ไม่ใช้วัสดุพื้นถิ่นประมาณร้อยละ 26 และสามารถช่วยดูดซับโลหะหนักในน้ำได้


คำสำคัญ

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกุ้งถ่านไม้ธาตุอาหารโลหะหนัก


อัพเดทล่าสุด 2022-11-03 ถึง 23:05