ผลกระทบของผงแคลเซียมคาร์บอเนตต่อสมรรถนะการไหลและกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตมวลรวมเบาที่อัดแน่นได้ด้วยตัวเอง

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งBunyanun Pensuwan, Narumon Plaithong, Kongkrit Somrudee and Mongkhon Narmluk

ผู้เผยแพร่สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

ชื่อย่อของวารสารVE-irj

Volume number5

Issue number2

หน้าแรก21

หน้าสุดท้าย30

จำนวนหน้า10

นอก2586-9302

eISSN2697-4983

URLhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/ve-irj/article/view/250344

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอผลกระทบของการใช้ผงแคลเซียมคาร์บอเนตแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วน ที่มีต่อสมรรถนะการไหลและกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตที่อัดแน่นได้ด้วยตัวเองที่ใช้เม็ดดินเหนียวขยายตัวเบาเป็นมวลรวมหยาบ ในการทดลองได้นำผงแคลเซียมคาร์บอเนตแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ร้อยละ 20, 35 และ 50 ของปริมาตรวัสดุประสานรวม  การศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตประกอบด้วย ค่าการไหลแผ่ ระยะเวลาไหลแผ่ถึงเส้นผ่านศูนย์กลาง 500 มม. (T500) ระยะเวลาไหลผ่านกล่องแบนรูปตัววี ดัชนีการไหลผ่านสิ่งกีดขวาง H2/H1 จากการทดสอบ L-box และกำลังรับแรงอัดของคอนกรีต ผลการวิจัยพบว่า การใช้ผงแคลเซียมคาร์บอเนตแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วน ลดความสามารถในการไหลของคอนกรีต LWASCC ค่าการไหลแผ่และดัชนีการไหลผ่านสิ่งกีดขวาง H2/H1 ลง ขณะที่ระยะเวลา T500 และเวลาในการไหลผ่านกล่องแบนรูปทรงวีเพิ่มขึ้นตามปริมาณผงแคลเซียมคาร์บอเนต นอกจากนี้พบว่า คอนกรีตที่มีส่วนผสมของผงแคลเซียมคาร์บอเนตที่ส่วนผสมมีค่ากำลังรับแรงอัดที่อายุ 7 วัน สูงกว่าคอนกรีตควบคุม ร้อยละ 13.3-33.2 และการเลือกใช้อัตราการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยผงแคลเซียมคาร์บอเนตร้อยละ 20 ได้รับกำลังรับแรงอัดสูงสุด


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-03-08 ถึง 23:05