การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแก๊สมีเทนจากหญ้าเนเปียร์และ หญ้าเนเปียร์หมัก โดยการปรับสภาพด้วยน้ำร้อน

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งNantiyapond Tinrung;Ruenrom Lerdlattaporn;Navadol Laosiripojana;Suppanut Varongchayakul;Warinthorn Songkasiri

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

วารสารKMUTT Research and Development Journal (0125-278X)

Volume number44

Issue number2

หน้าแรก237

หน้าสุดท้าย261

จำนวนหน้า25

นอก0125-278X

URLhttps://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/loadfile.php?A_ID=983


บทคัดย่อ

หญ้าเนเปียร์เป็นหญ้าที่เจริญเติบโตได้รวดเร็วและมีองค์ประกอบของสารอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้ในปริมาณมาก โดยเฉพาะโครงสร้างคาร์โบไฮเดรต ด้วยสมบัติดังกล่าว หญ้าเนเปียร์และหญ้าเนเปียร์หมักจึงได้รับความสนใจในการนำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตแก๊สมีเทนในระบบการย่อยสลายแบบไร้อากาศ อย่างไรก็ตาม หญ้าเนเปียร์เป็นวัตถุดิบจำพวกลิกโนเซลลูโลสซึ่งย่อยสลายได้ยากด้วยเชื้อจุลินทรีย์ในระบบไร้อากาศ จึงจำเป็นต้องมีการปรับสภาพวัตถุดิบเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตแก๊สชีวภาพก่อนนำเข้าสู่กระบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศ การปรับสภาพด้วยน้ำร้อนเป็นวิธีที่สามารถทำลายพันธะและละลายน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ โดยเฉพาะเฮมิเซลลูโลสได้ ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณของน้ำตาลไซโลสและลดปริมาณของสารพิษ เช่น เฟอฟูรอลและไฮดรอกซีเมทิลเฟอฟูรอล จากผลการทดลองพบว่า ปริมาณน้ำตาลไซโลส เฟอฟูรอลและไฮดรอกซีเมทิลเฟอฟูรอล เพิ่มสูงขึ้นตามอุณหภูมิ (140-200 องศาเซลเซียส) และระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา (0-30 นาที) โดยสภาวะที่เหมาะสมที่ให้ปริมาณน้ำตาลไซโลสสูงสุดและปริมาณเฟอฟูรอลและไฮดรอกซีเมทิลเฟอฟูรอลต่ำสุดคือการปรับสภาพด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที สภาวะดังกล่าวส่งผลให้ปริมาณเฮมิเซลลูโลสในตัวอย่างถูกกำจัดออกไปมากกว่า 90% จากการศึกษาศักยภาพในการผลิตแก๊สมีเทนของหญ้าเนเปียร์และหญ้าเนเปียร์หมักที่ถูกปรับสภาพด้วยน้ำร้อนที่สภาวะดังกล่าว พบว่า มีปริมาณสูงกว่าตัวอย่างที่ไม่ปรับสภาพ 16% และ 23% ตามลำดับ


คำสำคัญ

การปรับสภาพการย่อยสลายแบบไร้อากาศแก๊สชีวภาพลิกโนเซลลูโลส


อัพเดทล่าสุด 2022-15-03 ถึง 23:05