การลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตและจัดการสินค้าในโรงงานสัตว์ปีก
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ลักษณาทิพย์ ยิ่งยวด, ธิดาพร แซ่กวน, ธเนศ จิตต์สุภาพรรณ, อนุชา วัฒนาภา, วิศิษฏ์ศรี วิยะรัตน์
ผู้เผยแพร่: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
ชื่อย่อของวารสาร: JLIT
Volume number: 1
Issue number: 1
หน้าแรก: 107
หน้าสุดท้าย: 113
จำนวนหน้า: 7
นอก: 2773-9740
eISSN: 2773-9759
URL: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/251730/170094
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ปริมาณความต้องการอาหารสัตว์ปีกจำแนกตามช่วงวัย ของสัญญาฟาร์มประกัน (Contract farming) และลูกค้าทั่วไป และใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการผลิต อีกทั้งเป็นข้อมูลนำเข้า (Input data) สำหรับการจำลองการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดสินค้าของบริษัทจากการบรรจุถุง (Bag) เป็นแบบถังพักอาหารสำหรับการรอบรรจุ (Bulk) ด้วยตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นพหุคุณ (Multiple Linear Regression) โดยที่ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา เป็นข้อมูลของฟาร์มสัญญาประกัน จำนวน 31 เล้า ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2559 รวมทั้งสิ้น 1264 ระเบียน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณความต้องการอาหาร (y) (หน่วย: กิโลกรัม) ขึ้นกับจำนวน (x1) (หน่วย: ตัว) และอายุ (x2) (หน่วย: วัน) ของสัตว์ปีกในแต่ละเล้าของแต่ละฟาร์ม ตลอดช่วงเวลาของอายุของสัตว์ปีก 0 – 40 วัน และเปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดของแต่ละฟาร์ม ดังนั้น สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณที่ใช้ในการพยากรณ์ มีดังนี้ อาหารสูตร 1 ได้แก่ yijkl = 0.05x1ijkl + 54.77x2ijkl – 393.29 สำหรับสัตว์ปีกอายุ 0 – 15 วัน (0ijkl = 0.11x1ijkl + 57.25x2ijkl – 1045.62 สำหรับสัตว์ปีกอายุ 16 – 30 วัน (15ijkl = 0.19x1ijkl – 65.64x2ijkl + 2132.13 สำหรับสัตว์ปีกอายุ 31 – 40 วัน (302) เท่ากับ 0.732, 0.733 และ 0.351 ตามลำดับ โดยที่ i แทนอายุของสัตว์ปีก 1, 2, …, 40, j แทนฟาร์มประกันที่ 1, 2, …, X, k แทนเล้าที่ 1, 2, …, nj และ l แทนวันที่ผลิตอาหาร 1, 2, …, 365 นอกจากนี้ค่าความคลาดเคลื่อนที่ได้จากการวางแผนการผลิตลดลงแผนการผลิตที่บริษัทใช้ในปัจจุบัน โดยเฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่เราได้ปริมาณอาหารที่จะผลิตที่ได้จากการพยากรณ์ เราจะนำไปใส่ในโปรแกรมการจำลองสถานการณ์อารีน่า ซึ่งมีการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้วและมีความคลาคเคลื่อนเฉลี่ย 1.285% เพื่อหาจำนวนถังพักอาหารที่เหมาะสมต่อปริมาณการผลิต ได้ผลการศึกษาว่าพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าสำรองในคลังสินค้าจะลดลงเหลือ 127.4 ตารางเมตรจาก 2821 ตารางเมตรแตกต่างจากปัจจุบัน 95% ใช้พนักงานทั้งหมดลดลงเหลือ 10 คนจาก 19 คนแตกต่างจากปัจจุบัน47% ใช้รถยกลดลงเหลือ 2 คันจาก 5 คันแตกต่างจากปัจจุบัน 60%
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง