การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม รายวิชา ปฏิบัติการเคมี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งNuttapong Prasertsung, Alisa Songsriwittaya, and Ratana Rungsirisakun

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

ชื่อย่อของวารสารJIL

Volume number32

Issue number3

หน้าแรก25

หน้าสุดท้าย32

จำนวนหน้า8

นอก2697-6587

eISSN2730-2202

URLhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/254483/174379


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม รายวิชา ปฏิบัติการเคมี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับคะแนนก่อนเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม รายวิชา ปฏิบัติการเคมี กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี ที่ไม่เคยเรียนรายวิชา ปฏิบัติการเคมี จำนวน 137 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม รายวิชา ปฏิบัติการเคมี 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยด้วยสถิติพื้นฐานและการทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม รายวิชา ปฏิบัติการเคมี เท่ากับ 88.46/80.33 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี รายวิชา ปฏิบัติการเคมี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับทางสถิติ .01 และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม รายวิชา ปฏิบัติการเคมี อยู่ในระดับพึงพอใจมาก


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-11-02 ถึง 23:05