การประเมินการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากกิจกรรมของฟาร์มกุ้งแบบหนาแน่นชายฝั่ง แห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งZin May Tun, Soydoa Vinitnantharat

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

Volume number40

Issue number6

หน้าแรก404

หน้าสุดท้าย414

จำนวนหน้า11

นอก1686-9664

eISSN2586-9795

URLhttps://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/252624/173438


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมแบบหนาแน่นจาก 3 กระบวนการผลิต ได้แก่ การเตรียมบ่อ การเพาะเลี้ยงและการเก็บเกี่ยว ที่ความหนาแน่น 50,000-60,000 ตัว/ไร่ ในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ข้อมูลกิจกรรมได้แก่การใช้พลังงานและสสาร ของเสียและการระบายน้ําาทิ้งได้เก็บรวบรวม และนําามาคําานวณเป็นปริมาณแก๊ส เรือนกระจกที่ปล่อย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเพาะเลี้ยง 1 รอบ ปล่อยแก๊สเรือนกระจกเท่ากับ 4.33 กก. คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/กก. ผลผลิต โดยขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเป็นขั้นตอนที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกสูงสุดเท่ากับ 3.63 กก. คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/กก. ผลผลิต การใช้ไฟฟ้าจากการเติมอากาศ การใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ และแสงสว่าง คิดเป็นร้อยละ 83.58 ของ ค่าการปล่อยแก๊สเรือนกระจกทั้งหมด หากมีการให้อากาศแบบบางช่วงเวลา และลดจําานวนและขนาดวัตต์ของหลอดไฟฟ้า สามารถทําาให้การปล่อยแก๊สเรือนกระจกลดลงได้ร้อยละ 9.88


คำสำคัญ

aquaculturegreenhouse gasintensive shrimp farm


อัพเดทล่าสุด 2022-21-02 ถึง 23:05