ตัวแปรที่ส่งผลต่อการยึดหน่วงแบบเฉือนตรงระหว่างคอนกรีตเดิมกับคอนกรีตใหม่
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Wasithagrit Jangate and Chuchai Sujivorakul
ผู้เผยแพร่: วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
Volume number: 18
Issue number: 1
หน้าแรก: 166
หน้าสุดท้าย: 180
จำนวนหน้า: 15
นอก: 1686-9869
eISSN: 2697-5548
URL: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jit_journal
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การเชื่อมประสานคอนกรีตใหม่บนคอนกรีตเดิมสำหรับการซ่อมแซมหรือการเสริมกำลังโครงสร้างจะต้องคำนึงถึงการถ่ายแรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นที่จุดต่อ การส่งถ่ายแรงที่สำคัญอย่างหนึ่งคือแรงเฉือนที่จุดต่อซึ่งขึ้นอยู่กับหลายตัวแปร งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อการยึดหน่วงแบบเฉือนตรงระหว่างคอนกรีตเดิมกับคอนกรีตใหม่ ตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบเป็นคอนกรีตรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มิลลิเมตร ยาว 300 มิลลิเมตร โดยคอนกรีตเดิมกับคอนกรีตใหม่ได้ถูกเชื่อมต่อกันที่ช่วงกลางของตัวอย่าง ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ (1) ความหยาบของผิวคอนกรีตเดิม 3 แบบ ได้แก่ ผิวเรียบ ผิวหยาบน้อย และผิวหยาบมาก (2) คอนกรีตใหม่ที่ใช้มี 2 แบบ คือ คอนกรีตล้วนและคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก (3) กำลังอัดคอนกรีต และ (4) การติดตั้งอุปกรณ์ฝังยึดที่จุดต่อ จากผลการศึกษาพบว่า ผิวคอนกรีตเดิมที่มีความหยาบมากขึ้นจะให้แรงยึดหน่วงแบบเฉือนตรงและการดูดซับพลังงานมีค่าเพิ่มขี้นอย่างมาก การใช้เส้นใยเหล็กและการเพิ่มกำลังอัดในคอนกรีตใหม่จะช่วยเพิ่มกำลังยึดหน่วงแบบเฉือนตรง การเคลื่อนตัว และการดูดซับพลังงานเล็กน้อย โดยการใช้คอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กและเททับบนผิวคอนกรีตเดิมที่มีความหยาบมากจะเพิ่มกำลังยึดหน่วงประมาณร้อยละ 2.28 ทั้งนี้อาจเกิดจากเส้นใยเหล็กช่วยเพิ่มการขัดกันระหว่างผิวสัมผัสทั้งสอง นอกจากนี้ การติดตั้งอุปกรณ์ฝังยึดที่จุดต่อจะช่วยเพิ่มขึ้นกำลังยึดหน่วงและการเคลื่อนตัวอย่างชัดเจน โดยเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 54.58 และ 165.93 ตามลำดับ สุดท้ายนี้ จากการวิเคราะห์ทางสถิติโดยวิธีถดถ้อยเชิงพหุคูณได้พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อการยึดหน่วงแบบเฉือนตรงอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ ความหยาบของผิวคอนกรีตเดิม และการติดตั้งอุปกรณ์ฝังยึดที่จุดต่อ และสมการที่ใช้ทำนายผลการ
คำสำคัญ
Existing Concrete; New Concrete; Joint; Steel Fiber; Chemical Anchor