การปรับปรุงสมบัติด้านการติดไฟและการลามไฟของพอลิยูรีเทนโฟมโดยการเติมสารลิกนิน

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งวีรวรรณ เหล่าศิริพจน์, ณัฐรัตน์ เก่งกล้า, ธนพนธ์ เริงวิจิตรา, ลัทธนันท์ เหลืองเจริญ,
สัณหวัช เหม่ากระโทก, นันท์นภัส แสบงบาล, วราพร ก.ศรีสุวรรณ และ รุ่งรวีย์ พันธุ์สมบัติ

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021


บทคัดย่อ

ปัจจุบันพอลิยูรีเทนโฟม มีโอกาสที่จะติดไฟและลามไฟได้ง่าย งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติด้านการติดไฟและการลามไฟของพอลิยูรีเทนโฟมโดยเติมลิกนินที่สังเคราะห์ได้จากเศษปีกไม้ยางด้วยกระบวนการแยกองค์ประกอบชีวมวลและใช้พอลิยูรีเทนโฟมสูตรหล่อ ซึ่งจะผสมลิกนินในปริมาณ 0, 5, 10 และ 15 %โดยปริมาตร แล้วขึ้นรูปด้วยกระบวนการแบบหล่อ จากการทดสอบสมบัติด้านการติดไฟด้วยเทคนิค (Limiting Oxygen Index; LOI)  พบว่าพอลิยูรีเทนโฟมที่ผสมลิกนินในปริมาณ 10 %โดยปริมาตร มีสมบัติต้านทานการติดไฟที่ดีที่สุดเนื่องจากมีค่าดัชนีออกซิเจนจำกัดสูงสุด LOI คือ 22.22% และการทดสอบสมบัติทางความร้อนโดยเทคนิค TGA พบว่าพอลิยูรีเทนโฟมที่ผสมลิกนินในปริมาณ 10 %โดยปริมาตร มีความเสถียรทางความร้อนมากที่สุด เนื่องจากมีอุณหภูมิการสลายตัวสูงสุดมากที่สุดคือ 356 องศาเซลเซียส นอกจากนั้นการทดสอบความสามารถในการลามไฟพบว่า พอลิยูรีเทนโฟมสูตรหล่อที่ไม่เติมลิกนินมีการเผาไหม้จนหมด ไม่เหลือเถ้า และเกิดการหยดของพอลิเมอร์ หลอมเหลว ในขณะที่เมื่อเติมลิกนินในปริมาณ 5, 10 และ 15 %โดยปริมาตร พอลิยูรีเทนโฟมจะยังคงเหลือเถ้าหลังการเผาไหม้และไม่เกิดการหยดของพอลิเมอร์หลอมเหลว ทั้งนี้การเติมลิกนินทำให้พอลิยูรีเทนโฟมมีความเสถียรทางความร้อนเพิ่มขึ้นและต้านทานการติดไฟได้ดีขึ้น


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-16-02 ถึง 23:05