การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่อง การเชื่อมอะลูมิเนียม สาหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหการ

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งKiattisak Lapkhuntod, Sittichai Kaewkuekool, and Prachya Peasura

ผู้เผยแพร่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

Volume number20

Issue number2

หน้าแรก1

หน้าสุดท้าย11

จำนวนหน้า11

นอก1685-3954

eISSN2651-0596

URLhttps://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/issue/view/16787


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการเชื่อมอะลูมิเนียม เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ สาหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหการ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่นักศึกษาภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ ชั้นปีที่ 3 จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จานวน 60 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มหาประสิทธิภาพบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จานวน 20 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลองเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จานวน 20 คน และกลุ่มที่ 3 กลุ่มเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จานวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การเชื่อมอะลูมิเนียม แบบประเมินคุณภาพบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จากนั้นนาผลการทดลองมาวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับดี (X= 4.25, S.D. = 0.38) และคุณภาพบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับดีมาก (X= 4.67, S.D. = 0.30) ผลการหาประสิทธิภาพบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีอัตราส่วนระหว่างประสิทธิภาพของกระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 81.43/82.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างผู้เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .05


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-16-02 ถึง 23:05