การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของการเรียนรู้โดยใช้หุ่นยนต์เป็นฐาน

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPhanuwat Phalad, Wuttiporn Suamuang and Surachai Suksakulchai

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

ชื่อชุดhttp://ncteched.fte.kmutnb.ac.th/

เลขในชุด13

Volume number1

หน้าแรก192

หน้าสุดท้าย197

จำนวนหน้า6

URLhttp://ncteched.fte.kmutnb.ac.th/

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หุ่นยนต์เป็นฐาน และ 2) เปรียบเทียบสภาพปัญหา และความต้องการระหว่างเพศหญิงและชายที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้หุ่นยนต์
เป็นฐาน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาครุศาสตร์ วิชาเอกวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปีการศึกษา 2556 – 2561 จำนวน 97 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาเพศหญิงและเพศชายมีความคิดเห็นในภาพรวมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยประเด็น สภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลางและความคาดหวังอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น
รายด้าน ด้านปัญหาพบว่า เพศหญิงมีความคิดเห็นว่าการเขียนโปรแกรมเป็นเรื่องยาก ไม่สามารถเข้าใจบทเรียนได้ด้วยตนเองจึงต้องหาความช่วยเหลือจากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ และมีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอที่จะเรียนรู้ด้วยวิธีการใช้หุ่นยนต์เป็นฐานอยู่ในระดับมาก และด้านความคาดหวังพบว่า เพศหญิงคาดหวังให้มีการส่งเสริมการเรียนรู้โดยมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่เพียงพอต่อการใช้งานในการเรียนการสอน ในขณะที่เพศชายคาดหวังให้มีห้องเรียน
ที่สามารถทำกิจกรรมของวิชาในช่วงนอกเวลาเรียนได้ในระดับมากที่สุด


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-21-02 ถึง 23:05