มโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการเหนี่ยวนำไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Chakrapong Kittipongthanakit, Nakarin Pattanaboonmee, Saengkrit Klunboot, Narumon Emarat
ผู้เผยแพร่: Faculty of Education, Chiang Mai University
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
Volume number: 5
Issue number: 3
หน้าแรก: 125
หน้าสุดท้าย: 137
จำนวนหน้า: 13
นอก: 2586-9043
URL: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/244921
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การเรียนการสอนเรื่องการเหนี่ยวนำไฟฟ้ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและการสร้างสายดิน แต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาในเรื่องนี้มีความซับซ้อนและค่อนข้างที่เป็นนามธรรม ทำให้นักเรียนเกิดมโนมติที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ออกแบบทดสอบวัดมโนมติที่เกี่ยวกับเรื่องการเหนี่ยวนำไฟฟ้าบนตัวทำทรงกลมและอิเล็กโทรสโคป ซึ่งแบบทดสอบวัดมโนมติที่ออกแบบขึ้น มีจำนวน 3 ข้อ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหา 4 ประเด็นคือ การเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าเมื่อเกิดการเหนี่ยวนำ การเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าเมื่อเกิดการเหนี่ยวนำในอิเล็กโทรสโคป ผลของการต่อสายดินในอิเล็กโทรสโคปที่ถูกเหนี่ยวนำ และผลของการถอดสายดินและวัตถุเหนี่ยวนำออกจากอิเล็กโทรสโคปที่ถูกเหนี่ยวนำ จากนั้นนำไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 44 คน ที่ผ่านการเรียนเรื่องการเหนี่ยวนำไฟฟ้ามาแล้ว จากนั้นวิเคราะห์ผลโดยการจัดกลุ่มคำตอบตามระดับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ซึ่งประยุกต์มาจาก Haidar (1997) พบว่ามีนักเรียนที่มีความเข้าใจถูกต้องสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 24.3 โดยเฉลี่ย และมีนักเรียนที่มีระดับมโนมติที่คลาดเคลื่อน คิดเป็นร้อยละ 42.9 โดยส่วนใหญ่นักเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนใน 2 เรื่อง คือ ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ในอิเล็กโทรสโคป คือ ประจุบวก คิดเป็นร้อยละ 86.4 และหลังจากต่อสายดินอิเล็กโทรสโคปจะเป็นกลางทางไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 84.1 จากผลการศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนามโนมติที่คลาดเคลื่อนของนักเรียนให้เกิดมโนมติที่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์และเกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนฟิสิกส์ในอนาคตได้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง