การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการขอคืนอากรตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Natthika Tanasombatsakul, Chumpol Monthatipkul and Sanga Monthatipkul
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
Volume number: 7
Issue number: 2
หน้าแรก: 32
หน้าสุดท้าย: 48
จำนวนหน้า: 17
นอก: 2408-2740
eISSN: 2651-1622
URL: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Logis_j/article/view/252510
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการรับรู้ข้อมูลการขอคืนอากร และปัจจัยคุณลักษณะของงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการขอคืนอากรตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการขอคืนอากรตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ของธุรกิจนำเข้าส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ รวมถึงผู้รับโอนสิทธิ์การขอคืนอากรที่ใช้บริการผ่านตัวแทนในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 170 คน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติทีเทส (t-test) และอโนว่าทางเดียว (One-way ANOVA) กับปัจจัยส่วนบุคคล และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) กับปัจจัยการรับรู้ และปัจจัยคุณลักษณะของงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการขอคืนอากรตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล อันได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งงาน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ประเภทกิจการ รูปแบบกิจการ และระยะเวลาที่เริ่มดำเนินกิจการที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการขอคืนอากรตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยการรับรู้และปัจจัยคุณลักษณะของงาน อันได้แก่ ความหลากหลายทางทักษะ ความสำคัญของงาน และผลสะท้อนกลับจากงาน มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการขอคืนอากรตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง