การวิเคราะห์แบ่งกลุ่มลูกค้าโดยใช้พฤติกรรมการซื้อเชิงลึก: กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งหนึ่ง
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Nathakhun Wiroonsri, Latthapol Chokratprapa, Natnicha Srisamarn and Porntip Dechpichai
ผู้เผยแพร่: School of Science, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
ชื่อย่อของวารสาร: the Journal of Science Ladkrabang
Volume number: 31
Issue number: 1
หน้าแรก: 103
หน้าสุดท้าย: 119
จำนวนหน้า: 17
eISSN: 2539-7257
URL: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/250784
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันนี้การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยได้รับความนิยมและมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงมีการเติบโตและขยายตัวเป็นอย่างมาก ทําให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดของอาหารสัตว์เลี้ยงค่อนข้างสูงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แบ่งกลุ่มลูกค้าของบริษัทผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงกรณีศึกษาโดยใช้พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์และศึกษาลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่ม โดยใช้ข้อมูลการซื้อขายสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2018ถึง เดือนกันยายน ค.ศ. 2020ซึ่งมีจํานวนลูกค้า (ตัวแทนจําหน่าย) รวมทั้งหมด 588 ราย และใช้ปัจจัยทั้งหมด 15 ปัจจัยได้แก่ ยอดซื้อปีค.ศ.2020 อัตราการเติบโตจากปีค.ศ.2018-2019 และปีค.ศ.2019-2020 ระยะทางจากศูนย์กลางกระจายสินค้าไปยังกิจการของลูกค้า ความถี่ในการซื้อสินค้าปีค.ศ.2018-2020 ความถี่ในการคืนสินค้าปีค.ศ.2018-2020 ความสม่ําเสมอของยอดซื้อรายเดือนปีค.ศ.2018-2020เปอร์เซ็นต์ความถี่ในการคืนสินค้าต่อความถี่ในการซื้อและเปอร์เซ็นต์มูลค่าในการคืนสินค้าต่อยอดซื้อ โดยใช้เทคนิค K-means ในการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มผลการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มพบว่าจากวิธี Elbow สามารถกําหนดจํานวนกลุ่มได้ 8 กลุ่ม และผลจากการศึกษาลักษณะเฉพาะของกลุ่มทําให้นิยามกลุ่มได้ดังนี้“กลุ่มลูกค้าทั่วไปคืนสินค้าน้อย” (56.4%) “กลุ่มลูกค้าทั่วไปใจไม่นิ่ง” (15.7%) “กลุ่มลูกค้าห่างไกล” (13.2%) “กลุ่มลูกค้าขยันคืน” (6.0%) “กลุ่มลูกค้าซื้อง่ายขายคล่อง” (5.9%) “กลุ่มลูกค้ากระเป๋าหนัก”(1.3%) “กลุ่มลูกค้าที่มีแนวโน้มควรรักษาไว้” (0.8%) และ“กลุ่มลูกค้าขาจร”(0.79%)ผลที่ได้สามารถนําไปใช้ในการวางกลยุทธ์การขายให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละกลุ่มเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
คำสำคัญ
Customer behavior, Pet food