ผลกระทบจากตัวแปรของกระบวนการเชื่อมเสียดทานจุดชนิดไม่มีพิน ต่อความแข็งแรงของรอยเชื่อมต่อเกยของอะลูมิเนียม A5052-H32 และ A6061-T6

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งอภิเดช เกิดถิ่น, บวรโชค ผู้พัฒน์, สมพร เพียรสุขมณี

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

ชื่อชุดProceedings CIOD 2022 บทความฉบับสมบูรณ์ ประชุมวิชาการด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2565 (The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022: CIOD2022)

เลขในชุด1

Volume number1

หน้าแรก378

หน้าสุดท้าย386

จำนวนหน้า9

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

ปัจจุบันผู้ผลิตยานยนต์มีแนวโน้มการใช้วัสดุชิ้นส่วนของรถยนต์ด้วยวัสดุเบา เช่น อะลูมิเนียม เพิ่มขึ้น แต่เทคนิคการประกอบเดิม เช่น การเชื่อมจุดด้วยความต้านทาน ยังคงมีปัญหาเนื่องจากฟิล์มออกไซด์บนผิวและรอยต่อ วิธีการเชื่อมเสียดทานจุดชนิดไม่มีพินจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลกระทบของตัวแปรของกระบวนการเชื่อม ที่มีผลต่อความแข็งแรงดึงเฉือนของรอยเชื่อมของวัสดุอะลูมิเนียมต่างชนิด บนรอยต่อเกยระหว่าง อะลูมิเนียม A5052-H32 กับ A6061-T6 ความหนา 1 มิลลิเมตร ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ เวลาเชื่อม ระยะกดลึกของเครื่องมือกวน และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเครื่องมือกวน ผลการศึกษาพบว่า ค่าตัวแปรที่ดีที่สุดสำหรับการเชื่อมเสียดทานจุดชนิดไม่มีพิน กรณีใช้เครื่องมือกวนขนาด 7 มิลลิเมตร โดยอะลูมิเนียม A5052-H23 อยู่ด้านบน ใช้เวลาเชื่อม 17 วินาที ได้ระยะกดลึก 0.59 มิลลิเมตร และกรณีใช้เครื่องมือกวนขนาด 10 มิลลิเมตร โดยอะลูมิเนียม A6061-T6 อยู่ด้านบน ใช้เวลาเชื่อม 20 วินาที ได้ระยะกดลึกผิวงาน 0.54 มิลลิเมตร ทั้งสองกรณีสามารถสร้างรอยเชื่อมที่แข็งแรงจากแรงดึงเฉือนมากที่สุด ระยะกดลึกที่ทำให้แรงดึงเฉือนผ่านเกณฑ์การยอมรับแรงดึงเฉือนสำหรับทุกสภาวะการเชื่อมอยู่ระหว่าง 0.4 - 0.6 มิลลิเมตร


คำสำคัญ

lap joint strengthpinless friction stir spot welding


อัพเดทล่าสุด 2022-01-06 ถึง 23:05