การออกแบบลวดลายบนบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำพริกที่แสดงอัตลักษณ์
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: สุนิสา งามเสมอ และ พงศ์ยุทธ์ จั่นทอง
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2019
หน้าแรก: 369
หน้าสุดท้าย: 375
จำนวนหน้า: 7
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
เรื่อง การออกแบบลวดลายบนบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำพริกที่แสดงอัตลักษณ์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์จังหวัดสุรินทร์ และนำมาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบ 2) เพื่อออกแบบลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำพริก 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบ และ 4) เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตบรรจุภัณฑ์ระหว่างกระปุกพลาสติกใสแบบมี
ฝาปิด และถุงซิปล็อก ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาข้อมูลทั่วไป และลงพื้นที่เพื่อหาความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ จากนั้นได้ทำแบบสอบถามเรื่อง ความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ โดยสอบถามข้อมูลจากบุคคลทั่วไปที่มีภูมิลำเนา และไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน พบว่า ช้าง
มีระดับคะแนนความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์มากที่สุด ( = 4.53 , S.D. = 0.80) รองลงมา คือ ผ้าไหม (
= 4.42 , S.D. = 0.83) และปราสาท (
= 4.31 , S.D. = 0.95) ที่มีระดับคะแนนความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์มากตามลำดับ ผู้วิจัยจึงได้การหาความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ด้วยรูปภาพ ซึ่งรูปภาพที่ได้นำมาใช้ในการทำแบบสอบถามความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ คือ รูปภาพช้าง รูปภาพปราสาท และรูปภาพผ้าไหม ซึ่งจากการสอบถามบุคคลทั่วไปที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ และไม่มีภูมิลำเนาในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน พบว่า รูปภาพช้าง มีความ สามารถในการแสดงอัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์มากที่สุด (ร้อยละ 93.50) รองลงมา คือ รูปภาพผ้าไหม (ร้อยละ 78.75) และรูปภาพปราสาท (ร้อยละ 59.50) ตามลำดับ และผู้วิจัยได้นำเอา
อัตลักษณ์ทั้ง 3 มาใช้ในการออกแบบลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำพริกร่วมกับแนวทางการออกแบบจึงนำไปสู่ 3 ชุดการออกแบบ คือ การออกแบบที่เน้นผลิตภัณฑ์น้ำพริกเป็นตัวหลัก การออกแบบที่เน้นผลิตภัณฑ์น้ำพริกถูกจัดวางอยู่บนโต๊ะอาหาร และการออกแบบที่เน้นผลิตภัณฑ์น้ำพริกถูกจัดวางอยู่บนโต๊ะอาหาร และกำลังถูกตักเพื่อรับประทานและผู้วิจัยได้ออกแบบตราสินค้าจำนวน 5 แบบ เพื่อใช้หาความเหมาะสมของตราสินค้าที่มีต่อชุดการออกแบบทั้ง 3 ชุด ซึ่งจากการทำแบบสอบถามความเหมาะสมจากบุคคลทั่วไปที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ และไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน พบว่า ชุดการออกแบบที่ 1 เน้นผลิตภัณฑ์น้ำพริกเป็นตัวหลักเหมาะสมกับตราสินค้าแบบที่ 1 (ร้อยละ 55.00) ชุดการออกแบบที่ 2 เน้นผลิตภัณฑ์น้ำพริกถูกจัดวางอยู่บนโต๊ะอาหารเหมาะสมกับตราสินค้าแบบที่ 3 (ร้อยละ 57.75) และชุดการออกแบบที่ 3
เน้นผลิตภัณฑ์น้ำพริกถูกจัดวางอยู่บนโต๊ะอาหาร และกำลังถูกตักเพื่อรับประทานเหมาะสมกับตราสินค้าแบบที่ 5 (ร้อยละ 60.25) จากนั้นผู้วิจัยได้ประเมินความพึงพอใจจากผู้ประกอบการน้ำพริก ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาด และผู้บริโภคทั่วไปบนตลาดน้อยอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ที่มีต่อชุดการออกแบบทั้ง 3 ชุด โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการวิจัยพบว่าชุดการออกแบบ
ที่มีคะแนนความพึงพอใจมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ชุดการออกแบบที่ 3 ( = 4.01 , S.D. = 0.61) เนื่องจากเป็นการออกแบบที่เน้นให้เห็นว่าน้ำพริกถูกจัดวางอยู่บนโต๊ะอาหาร และกำลังถูกตักเพื่อรับประทาน ประกอบกับการใช้สีเขียวของใบตองเป็นสีพื้นหลังทำให้ผู้บริโภครู้สึกอยากอาหาร สุขภาพดี และมีความเป็นธรรมชาติ จากนั้นผู้วิจัยได้นำเอาชุดการออกแบบทั้ง 3 มาหาความสามารถในการแสดงอัตลักษณ์ โดยการทำแบบสอบถามจากบุคคลทั่วไปที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ และไม่มีภูมิลำเนาในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน พบว่า ชุดการออกแบบที่ 1 มีความสารถในการแสดงอัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์มากที่สุด (ร้อยละ 81.50) รองลงมา คือ ชุดการออกแบบที่ 2
(ร้อยละ 62.75) และชุดการออกแบบที่ 3 (คิดเป็นร้อยละ 47.00) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าชุดการออกแบบที่มีคะแนนความพึงพอใจมาก คือ ชุดการออกแบบที่ 3 แต่ชุดการออกแบบที่สามารถแสดงอัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ได้มากที่สุด คือ ชุดการออกแบบที่ 1 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งผู้ประกอบการน้ำพริก ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาด และผู้บริโภคทั่วไปบนตลาดน้อยอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง และผู้วิจัยได้ทำการคำนวณหาจุดตัดคุ้มทุน พบว่า บรรจุภัณฑ์แบบกระปุกใสมีจุดตัดคุ้มทุนที่ 697 กระปุกต่อเดือน และบรรจุภัณฑ์แบบถุงซิปล็อกมีจุดตัดคุ้มทุนที่ 1,331 ถุงต่อเดือน ซึ่งบรรจุภัณฑ์แบบกระปุกใสมีจุดตัดคุ้มทุนต่ำกว่า หรือ คืนทุนได้ไวกว่าบรรจุภัณฑ์แบบถุงซิปล็อก และหากต้องการขายน้ำพริกที่มีบรรจุภัณฑ์เป็นแบบถุงซิปล็อกให้ได้กำไรต่อเดือนเท่ากับการขายน้ำพริกที่มีบรรจุภัณฑ์เป็นแบบกระปุกใส ผู้ประกอบการน้ำพริกต้องขายน้ำพริกที่มีบรรจุภัณฑ์เป็นแบบถุงซิปล็อกเพิ่มขึ้นเป็น 1.91 เท่าต่อเดือน แต่การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากกระปุกใสมาเป็นถุงซิปล็อกสามารถแก้ไขปัญหา และตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการน้ำพริก ทั้งนี้การออกแบบลวดลายบนบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำพริก
ที่แสดงอัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ทำให้ผู้บริโภคบนทั่วไปบนตลาดน้อยอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เกิดความสนใจในตัวผลิตภัณฑ์น้ำพริกมากขึ้น
คำสำคัญ : การออกแบบลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ / อัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง