การประเมินกลยุทธ์เพื่อการกระจายหน้ากากอนามัยอย่างมีประสิทธิผลเนื่องจากโควิด-19
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Vissarut Ubonphulphol, Kannpitcha Paponphatsiri, Piyarat Muratavanich, Charoenchai Khompatraporn, Vorapoch Angkasith
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
หน้าแรก: 208
หน้าสุดท้าย: 217
จำนวนหน้า: 10
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบอย่างมากต่อโซ่อุปทานของสินค้าจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ โซ่อุปทานของหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ในประเทศไทยที่มีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นอย่างกะทันหัน แต่ผู้ผลิตและผู้นำเข้าหน้ากากอนามัยไม่สามารถจัดหาได้เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลทำให้โซ่อุปทานของหน้ากากอนามัยหยุดชะงัก งานวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการหยุดชะงักของโซ่อุปทานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 และเสนอกลยุทธ์ในการปรับปรุงโซ่อุปทาน โดยการประยุกต์ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจำลองการไหลของวัตถุดิบ และสินค้าในโซ่อุปทาน จากข้อมูลสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การตัดสินใจคำนึงถึงจำนวนประชากรในแต่ละจังหวัด ระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาด และระยะทางในการขนส่งสินค้า โดยตัวแบบทางคณิตศาสตร์จะถูกคำนวณหาคำตอบผ่านเครื่องมือ CBC (COIN-OR Branch-and-Cut) ใน MS Excel ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปคำนวณเป็นค่าระดับการบริการ เพื่อการประเมินผลของการหยุดชะงักของโซ่อุปทาน นอกจากนี้ยังได้ทดสอบกลยุทธ์ในการรับมือทั้งหมด 3 แนวทาง คือ การห้ามการส่งออกทั้ง หมดการเพิ่มกำลังการผลิตหน้ากากอนามัย และการกำหนดให้ประเทศไทยสามารถผลิตผ้าเมลต์โบลน (Meltblown Fabric) ซึ่งเป็นผ้าชนิดไม่ถักไม่ทอประเภทหนึ่งภายในประเทศได้ ผลการวิจัยพบว่า เมื่ออ้างอิงข้อมูลจริงระดับการบริการโดยเฉลี่ย เมื่อไม่มี
การหยุดชะงักของโซ่อุปทานมีค่าร้อยละ 82.68 ในกรณีที่กำหนดการหยุดชะงักขึ้น ค่าระดับการบริการลดลงเหลือเพียงร้อยละ 62.33 และเมื่อประยุกต์ใช้กลยุทธ์ต่างๆ กลยุทธ์ที่ดีทีสุดสามารถเพิ่มระดับการบริการโดยเฉลี่ย ให้อยู่ทีร้อยละ 77.79 ด้วยการเพิ่มกำลังการผลิตหน้ากากอนามัยร้อยละ 25 ควบคู่กับการผลิตผ้าเมลต์โบลนในประเทศร้อยละ 20 ไปพร้อมกัน
คำสำคัญ
COVID-19, Distribution, optimization