สื่อแอนิเมชันโดยใช้เทคนิคสตอปโมชัน เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: วัยวัฒน์ สายทุ้ม, ธมกร พุ่มพันธ์ และ ปณิธาน จันทิมาโพธิ์พงษ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
ชื่อชุด: รวมบทความวิจัย โครงการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ 1
เลขในชุด: 1
Volume number: 1
หน้าแรก: 269
หน้าสุดท้าย: 292
จำนวนหน้า: 24
URL: http://conference.skru.ac.th/index.php
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาสื่อแอนิเมชันโดยใช้เทคนิคสตอปโมชัน เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า 2. เพื่อประเมินคุณภาพสื่อแอนิเมชันโดยใช้เทคนิคสตอปโมชัน เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้ากับผู้เชี่ยวชาญ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนจากสื่อแอนิเมชันโดยใช้เทคนิคสตอปโมชัน เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า เป็นการถ่ายทอดบทกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าจำนวน 10 บท คือ บทที่ 1-4, 6, 8-10, 13, 22 ออกมาเป็นสื่อแอนิเมชันความยาว 6 นาที 30 วินาที ประกอบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 3 ฉากใหญ่ 17 ตัวละคร ใช้การสร้างชิ้นงานด้วยมือทั้งฉากและตัวละคร ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีคะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.45 และในการประเมินกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งคัดมาจากประชากรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม ปีการศึกษา 2559 ด้วยวิธี ทาโร ยามาเน่ คัดเลือก 82 คน ความเชื่อมั่น 90% พบว่าสื่อแอนิเมชันสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.36 แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างเกิดความสนใจ และสามารถเข้าใจความหมายของบทกลอนได้ดียิ่งขึ้นเมื่อได้รับชมสื่อแอนิเมชันโดยใช้เทคนิค
สตอปโมชัน เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า เป็นการสร้างทางเลือกในการเรียนรู้ให้เกิดความน่าสนใจและเปิดโอกาสให้เกิดการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมซึ่งเป็นการสืบสานให้กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าคงอยู่ต่อไป
คำสำคัญ: กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า, เทคนิคสตอปโมชัน, สื่อแอนิเมชัน
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง