การศึกษาและออกแบบระบบเติมเชื้อเพลิงในเครื่องโทคาแมคเครื่องแรกของประเทศไทย โดยการยิงลำอนุภาคด้วยความเร็วเหนือเสียง

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งJiraporn Promping;Apiwat Wisitsorasak;Boonyarit Chatthong;Kewalee Nilgumhang;Arlee Tamman;Pasit Wonghabut;Wutthichok Sangwang;Kamtorn Saidarasamoot;Nopporn Poolyarat;Somsak Dangtip

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

วารสารวารสารฟิสิกส์ไทย (0857-1449)

Volume number38

Issue number3

หน้าแรก111

หน้าสุดท้าย122

จำนวนหน้า12

นอก0857-1449

URLhttps://ph01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPhys/article/view/244512


บทคัดย่อ

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. มีแผนที่จะติดตั้งและพัฒนาเครื่องโทคาแมคขึ้นเองในประเทศไทย ภายใต้ชื่อโทคาแมคเครื่องแรกของประเทศไทย (TT-1) ณ จังหวัดนครนายก องค์ประกอบหลักของเครื่อง TT- 1 ใช้ตามแบบเครื่องก่อนหน้าคือเครื่อง HT-6M ซึ่งได้รับบริจาคจากสถาบันพลาสมาฟิสิกส์ (ASIPP) สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนประกอบหลักนี้จะพัฒนาระบบย่อยขึ้นใหม่สี่ระบบ ระบบเติมเชื้อเพลิงคือหนึ่งในสี่ระบบที่มีความสําคัญในการกักเก็บความหนาแน่นของพลาสมาและเพิ่มศักยภาพของพลาสมาให้มีประสิทธิภาพ การเติมเชื้อเพลิงของเครื่องโทคาแมคมีสามวิธีหลัก ๆ คือ การพ่นก๊าซ (GP) การฉีดลําอนุภาคด้วยความเร็วเหนือเสียง (SMBI) และการยิงเม็ดเชื้อเพลิงแช่แข็ง (PI) บทความนี้จะรายงานการศึกษาเบื้องต้นสําหรับการออกแบบระบบการเติมเชื้อเพลิงแบบ SMBI และแบบ PI ของเครื่องโทคาแมค TT- 1 ซึ่งจะใช้เป็นระบบเติมเชื้อเพลิงในเฟสถัดไป ในบทความนี้ได้นําเสนอการออกแบบและวางแผนติดตั้งระบบ SMBI ของเครื่องโทคาแมค TT- 1 ด้วยความหนาแน่นของอนุภาคพลาสมาที่ 1019 m-3 ซึ่งในที่นี้คํานวณมาจาก จํานวนอนุภาคพลาสมาต่อปริมาตร ที่กระแสพลาสมา 100 kA ช่วงเวลาการเกิดพลาสมา 100 ms พบว่าเชื้อเพลิงก็มีความสามารถพอที่จะทะลุผ่านเข้าไปยังแกนกลางของพลาสมาได้ เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องโทคาแมคอื่น ๆ ที่มีขนาดและประสิทธิภาพใกล้เคียงกันก็ให้ผลที่สอดคล้องกับการศึกษานี้  


คำสำคัญ

การยิงลําอนุภาคด้วยความเร็วเหนือเสียงเครื่องโทคาแมคโทคาแมคเครื่องแรกของประเทศไทยระบบเติมเชื้อเพลิงพลาสมา


อัพเดทล่าสุด 2022-09-08 ถึง 23:05