ผลกระทบของการใช้เถ้าชานอ้อยบดละเอียดแทนที่ปูนซีเมนต์ในปริมาณสูงต่อกำลังอัดโมดูลัสยืดหยุ่นและการหดตัวแบบแห้งของคอนกรีตกำลังสูง
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Tawich Klathae, Trinh Nhat Ho Tran, Sambath Men, Weerachart Tangchirapat and Chai Jaturapitakkul
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
Volume number: 45
Issue number: 1
หน้าแรก: 43
หน้าสุดท้าย: 58
จำนวนหน้า: 16
นอก: 0125-278X
URL: https://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/loadfile.php?A_ID=1012
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบบนี้ศึกษาผลกระทบการใช้เถ้าชานอ้อยในปริมาณสงูต่อค่ากำลังอัด, โมดูลัสยืดหยุ่น และการหดตัวแบบแห้งในคอนกรีตกำลังสูง โดยนำเถ้าชานอ้อยบดละเอียด (GSCBA) ขนาดอนุภาคเฉลี่ย(Median particle size, d50) เท่ากับ 4.67 ไมโครเมตร แทนที่ปูนซีเมนต์ปอรต์ แลนด์ประเภทท่ี 1 (OPC) ร้อยละ 60, 70 และ 80 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน (60GSCBA, 70GSCBA และ 80GSCBA) กำหนดปริมาณวัสดุประสานเท่ากับ 560 กก/ม3 ควบคุมค่าอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานคงที่เท่ากับ 0.28 ใช้สารลดน้ำพิเศษควบคุมค่าการยุบตัวของคอนกรีตให้มีค่าระหว่าง 150-200 มม. ผลการวิจยัพบว่าคอนกรีต60GSCBA,70GSCBA และ 80GSCBA สามารถพัฒนากาลังอัดท่ีอายุ 28 วัน เท่ากับ 71.1, 63.8 และ56.8 เมกะปาสคาล ตามลำดับ (มากกว่า 55 เมกะปาสคาล) ซึ่งจัดเป็นคอนกรีตกำลังสูง ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตมีค่าลดลงเมื่อปริมาณการแทนที่ของ GSCBA มีค่ามากขึ้น ซึ่งค่าดังกล่าวขึ้นอยู่กับกำลังอัดของคอนกรีต อย่างไรก็ตามการหดตัวแบบแห้งของคอนกรีตกำลังสูงที่แทนที่ GSCBA มีค่าสูงกว่าคอนกรีตควบคุม (CT) และมีค่ามากขึ้นเมื่อปริมาณการแทนที่ของ GSCBA มีค่าเพิ่มขึ้น สำหรับการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต้นทุนการผลิตคอนกรีต พบว่าคอนกรีตกำลังสูงที่แทนที่ด้วยGSCBA มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง 42–57% และมีต้นทุนวัสดุลดลง 13–25% เมื่อเทียบกับคอนกรีต CT จากผลการทดสอบสามารถสรุปได้ว่า GSCBA เป็นวัสดุปอซโซลานที่สามารถใช้แทนที่OPC ได้ถึงร้อยละ 80 โดยน้ำหนักของวัสดุประสานเพื่อผลิตเป็นคอนกรีตกำลังสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังสามารถลดต้นทุนในการผลิตคอนกรีตลงได้อีกด้วย
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง