The Development of Split Type Air Conditioner Performance Monitoring On IoT system
Conference proceedings article
Authors/Editors
Strategic Research Themes
Publication Details
Author list: อลงกรณ์ แสงงาม, สิทธิพงษ์ บุญอาจ, สมภพ ปัญญาสมพรรค์
Publication year: 2020
Start page: 398
End page: 404
Number of pages: 7
Abstract
การพัฒนาระบบแสดงสมรรถนะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนผ่านระบบ IoT เป็นการออกแบบและสร้างระบบ แสดงสมรรถนะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนผ่านฟรีแอพพลิเคชั่น เพื่อพัฒนาต่อยอดการตรวจวัดสมรรถนะ เครื่องปรับอากาศแบบเดิมซึ่งผู้จัดท ำจึงได้ออกแบบและสร้างระบบแสดงสมรรถนะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนฟรี แอพพลิเคชั่น โดยแสดงข้อมูลการตรวจวัดสมรรถนะเครื่องปรับอากาศผ่านฟรีแอพพลิเคชั่นโดยตั้งสมมุติฐานว่าการพัฒนา ระบบแสดงสมรรถนะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนผ่านระบบ IoT จะต้องมีความคลาดเคลื่อนของระบบไม่เกินร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับอุปกรณ์วัดจริง เพื่อแสดงผลการตรวจวัดสมรรถนะเครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป จากการออกแบบและสร้างระบบแสดงสมรรถนะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนผ่านฟรีแอพพลิเคชั่น ผู้จัดทำได้ทำการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดค่าดัชนีการตรวจวัดสมรรถนะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ได้แก่ ค่าอุณหภูมิและความชื้นช่อง ลมจ่ายและลมกลับ ความเร็วลมช่องลมกลับ และ ค่ากำลังไฟฟ้าขณะที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน [1] โดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดค่า ดัชนีตรวจวัดที่มีความเจาะจงกับการตรวจวัดค่าดัชนีโดยติดตั้ง ณ ตำแหน่งติดตั้ง โดยมีการค านวณและท าการใช้ค่าแก้ดัชนี ตรวจวัดเพื่อทำให้ดัชนีตรวจวัดมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด โดยใช้ค่าแก้อุณหภูมิและความชื้นช่องลมมีค่าเท่ากับ 1.06289 และ 0.945422 ตามลำดับ จะมีความคลาดเคลื่อนของค่าอุณหภูมิและความชื้นช่องลมกลับที่อ่านจากระบบเท่ากับร้อยละ 2.37 และ 3.12 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์วัดจริง ใช้ค่าแก้ดัชนีตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นช่องลมจ่ายมีค่าเท่ากับ 1.320183 และ 0.9459939 ตามลำดับ จะมีความคลาดเคลื่อนของค่าอุณหภูมิและความชื้นช่องลมจ่ายอ่านจากระบบเท่ากับ ร้อยละ 3.6 และ 1.57 เมื่อเทียบกับอุปกรณ์วัดจริง ใช้ค่าความเร็วลมช่องลมกลับใช้ค่าแก้ดัชนีตรวจวัดความเร็วลมช่องลม กลับมีค่าเท่ากับ 1.095993 จะมีความคลาดเคลื่อนของค่าเร็วช่องลมกลับที่อ่านจากระบบร้อยละ 1.12 เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ วัดจริง ค่ากำลังไฟฟ้ารวมของเครื่องปรับอากาศขณะที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน ได้แก่ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า มีความคลาดเคลื่อนเท่ากับร้อยละ 0.06 2.05 และ 2.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์วัดจริง ค่าเอนทาลปีของอากาศด้าน ลมกลับและลมจ่ายมีความคลาดเคลื่อนเท่ากับร้อยละ 1.82 และ 2.25 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์วัดจริง จากการใช้งาน ค่าแก้ดัชนีตรวจวัดดังกล่าว จึงทำให้ค่าสมรรถนะเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ ปริมาณอากาศไหลผ่าน ค่าตันความเย็น ค่า สมรรถนะของเครื่องปรับอากาศ ค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะทำความเย็น ค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานของ เครื่องปรับอากาศ มีความคลาดเคลื่อนเท่ากับร้อยละ 1.1 4.2 2.7 1.9 และ 2.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์วัดจริง เมื่อนำค่าความคลาดเคลื่อนรวมมาเฉลี่ยการใช้งานระบบแสดงสมรรถนะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนผ่านฟรีแอพพลิเคชั่นมีค่าเท่ากับร้อยละ 1.95 เมื่อเทียบกับอุปกรณ์วัดจริง
Keywords
No matching items found.