การพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งMintra Piapiya, Kanittha Bangpoophamorn and Alisa Songsriwittaya

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

ชื่อชุดThe Development of Learning media by Combining Augmented Reality (AR) Technology with Geometric Shapes for 9th Grade Students

หน้าแรก217

หน้าสุดท้าย222

จำนวนหน้า6

URLhttp://sci.chandra.ac.th/ncst2021/jdownloads/0intro.pdf
http://sci.chandra.ac.th/ncst2021/jdownloads/3it3.pdf

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ (1) เพื่อพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์เรื่องรูป
เรขาคณิตสามมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยี
เออาร์เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ทั้งก่อนและหลังเรียน (4) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์เรื่องรูป
เรขาคณิตสามมิติส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีนครสวรรค์กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกจากประชากรที่ได้เลือกแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-
คณิตศาสตร์จ านวน 30 คนด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ประกอบด้วยรูปภาพประกอบวิดีโอ
และแอปพลิเคชันที่มีการนำเอาเทคโนโลยีเออาร์มาผสมผสานโดยมีผลประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าภาพรวมของ
สื่อส่งเสริมการเรียนรู้มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก  ประสิทธิภาพของสื่อส่งเสริมการเรียนรู้มีค่า
เท่ากับ 85.87/81.167 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 เมื่อน าคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์
คะแนนก่อนเรียนเท่ากับ ) คิดเป็นร้อยละ 35.33 และคะแนนหลังเรียน  คิดเป็นร้อยละ 80.167
เมื่อคำนวณค่า t พบว่า t คำนวณสูงกว่าค่า t ในตารางแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และในส่วนของการประเมินความพึงพอใจโดยกลุ่มตัวอย่างพบว่า
ภาพรวมของมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 


คำสำคัญ

AR (Augmented reality)Learning innovation


อัพเดทล่าสุด 2022-09-08 ถึง 23:05