ผลกระทบของอัตราส่วนโดยโมลที่แตกต่างกันของผง ZnO:TiO2 ต่อความว่องไวของปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลติกในช่วงแสงยูวีเอ

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งChaikan Wisetsing, Krisana Kobwittaya, Sanya Sirivithayapakorn

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2020

หน้าแรก441

หน้าสุดท้าย448

จำนวนหน้า8

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบโลหะออกไซด์ผสมที่ใช้ผงซิงค์ออกไซด์ (ZnO) ผสมกับผงไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) เตรียมด้วยวิธี solid-state reaction ถูกนามาใช้ในกระบวนการโฟโตคะตะไลติก เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความว่องไวของปฏิกิริยาในการบำบัดน้าเสียสังเคราะห์ที่ปนเปื้อนด้วยสีย้อมโรดามีน บี (Rhodamine B) ภายใต้สภาวะที่ใช้แหล่งกาเนิดแสงยูวีเอ (UV-A) โดยศึกษาประสิทธิภาพของการบาบัดของระบบ พิจารณาการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบผสมที่มีอัตราส่วนโมลของ ZnO ต่อ TiO2 ที่แตกต่างกัน และการประเมินผลจากการเปลี่ยนแปลงของค่าการดูดกลืนแสง (Absorbance, Abs) และค่าปริมาณสารอินทรีย์ทั้งหมด (Total organic carbon, TOC) เทียบกับระยะเวลาของปฏิกิริยา จากผลการทดลอง พบว่า ภายในระยะเวลา 60 นาที เมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบผสมที่มีอัตราส่วนโมลของ ZnO ต่อ TiO2 เท่ากับ 0.75 ต่อ 1 (0.75ZnO-TiO2) ประสิทธิภาพในการกาจัดสีเท่ากับ 100% ในกรณีของประสิทธิภาพในการลดปริมาณสารอินทรีย์ทั้งหมดนั้น เมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา xZnO-TiO2 (x ≥ 1) ประสิทธิภาพอยู่ในช่วง 35% ถึง 50% เมื่อพิจารณาการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา TiO2 เพียงอย่างเดียว พบว่า ประสิทธิภาพในการกาจัดสีและปริมาณสารอินทรีย์ทั้งหมดเท่ากับ 70% และ 20% ตามลาดับ ดังนั้น การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบผสมสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการโฟโตคะตะไลติกได้สูงกว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา TiO2 เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความสามารถในการลดค่าปริมาณสารอินทรีย์ทั้งหมดของกระบวนการโฟโตคะตะไลติก พบว่า ยังมีข้อจากัดในเรื่องของการกำจัดสารอินทรีย์ทั้งหมด


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-04-08 ถึง 23:05