การประยุกต์ใช้กระบบนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นในการเลือกคลังชั่วคราว กรณีศึกษาา โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์แก้ว

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPattaravadee Chatket, Chorkaew Jaturanonda

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรก453

หน้าสุดท้าย464

จำนวนหน้า12

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีเปาหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะหเกณฑในการตัดสินใจเลือกคลังชั่วคราวเพื่อใชในการ จัดเก็บสินคาภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนด้านความต้องการจัดเก็บอื่น ๆ สำหรับโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วกรณีศึกษา ทั้งเกณฑ์เชิง ปริมาณและเกณฑ์เชิงคุณภาพ โดยงานวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) ในการวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกคลังชั่วคราวที่เหมาะสม โดยทำการเก็บข้อมูลจาก แบบสอบถามที่ประเมินผลผ่านผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 3 ท่าน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในระดับชั้นบริหาร และมีความเกี่ยวข้องกับงานการบริหารจัดการคลังสินค้า ในงานวิจัยจะทำการศึกษาวิเคราะห์เกณฑ์หลักทั้งหมด 4 เกณฑ์ ได้แก่ เกณฑ์หลักด้านต้นทุน เกณฑ์หลักด้านเส้นทางการขนส่ง เกณฑ์หลักด้านคุณสมบัติของคลัง และเกณฑ์หลักด้านการบริการ ผลการวิจัยพบว่า เกณฑ์หลักที่ได้ผลคะแนนระดับความสำคัญสูงที่สุดคือ เกณฑ์หลักด้าน ต้นทุน (61.9%) รองลงมาคือ เกณฑ์หลักด้านเส้นทางการขนส่ง (22.3%) เกณฑ์หลักด้านคุณสมบัติของคลัง (10.7%) และเกณฑ์หลักด้านการบริการ (5.2%) ตามลำดับ และคลังชั่วคราวที่เหมาะสมสำหรับโรงงานกรณีศึกษาคือ คลังสินค้า SB


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-26-07 ถึง 23:05