การนำเศษฟิล์มพอลิเมอร์เหลือใช้ในโรงงานผลิตกระจกลามิเนต กลับมาใช้ใหม่และสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อพัฒนาเป็นฟิล์มอัจฉริยะติดกระจก
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2021
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2022
คำอธิบายโดยย่อ
งานวิจัยนี้ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฟิล์มพอลิเมอร์ชนิดพอลิไวนิลบิวธีรอล (PVB) ที่เป็นเศษวัสดุเหลือใช้จากโรงงานกระจกลามิเนต ให้มีสมบัติพิเศษเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการขึ้นรูปร่วมกับกระจก เพื่อพัฒนาเป็นกระจกอัจฉริยะที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีได้ตามการกระตุ้น รวมทั้งมีความสามารถในการลดทอนการส่องผ่านรังสีอาทิตย์ในช่วงอินฟราเรดระยะใกล้ เพื่อความสบายทางอุณหภทพและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารหรือรถยนต์ ซึ่งในปัจจุบัน กระจกฯ ดังกล่าว มีการนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ประโยชน์ในอาคารและรถยนต์สมัยใหม่ แต่ยังคงมีราคาแพง
ในขณะที่ อุตสาหกรรมการผลิตกระจกนิรภัยในประเทศไทยมีการนำเข้าฟิล์ม PVB จากต่างประเทศ สำหรับใช้เป็นตัวประสานในการผนึกกระจกลามิเนต และจะมีเศษ (scrap) ฟิล์ม PVB ที่เกิดจากการตัดและไม่ได้ใช้งานเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ผู้วิจัยฯ จึงการมองเห็นถึงโอกาสของการทำงานวิจัย ในครั้งนี้ โดยการศึกษาการใช้เศษฟิล์ม PVB ที่เหลือใช้ในดรงงานฯ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิต PVB คอมปาวด์และฟิล์มฯ ชนิดพิเศษ โดยการตัดย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ และกลับมาผลิตซ้ำโดยกระบวนการทางความร้อน (กระบวนการ extrusion) จากนั้นทำการศึกษาผลกระทบของสภาวะในกระบวนการผลิตขึ้นรูปซ้ำ และพัฒนาฟิล์ม PVB ให้มีสมบัติที่เหมาะสม ทั้งในด้านของความใส การสะท้อนคลื่นความร้อน ความสามารถในการติดผนึก การนำไอออน และการทนต่อการเสื่อมสภาพทางความร้อน ซึ่งหากสามารถทำได้สำเร็จตามแผน จะมีส่วนช่วยให้เกิดเทคโนโลยีในการผลิตกระจกอัจฉริยะในราคาที่ผู้บริโภคสามารถเอื้อมถึงได้ อีกทั้งการใช้ประโยชน์จากเศษฟิล์ม PVB ที่เหลือตามโรงงานฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นโจทย์ที่โรงงานผู้ประกอบการให้ความสนใจเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสอดคล้องกับการดำเนินงานวิจัยภายใต้แนวทาง circular economy
คำสำคัญ
- การนำพอลิเมอร์กลับมาใช้ใหม่ พอลิไวนิลบิวธีรอล ฟิล์มติดกระจก กระจกอัจฉริยะ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง