การเก็บรักษาเมล็ดถั่วลิสงสำหรับการผลิตถั่วลิสงต้มฉายรังสีพร้อมรับประทาน


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ15/02/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ14/02/2022


คำอธิบายโดยย่อ

การอยู่อาศัยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็นสังคมเมือง และมีประชากรอพยพเข้ามาทำงานในเมืองหลักเพิ่มมากขึ้น เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ ส่งผลให้ธุรกิจร้านค้าปลีกประเภท ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store หรือ Gas Store) เช่น ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ร้านจิ๊ฟฟี่ เติบโตอย่างรวดเร็วและมีรายการสินค้าที่วางจำหน่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความต้องการสินค้าหรืออาหารที่มีความสะดวกหรือพร้อมรับประทานเพิ่มขึ้น เช่น ถั่วสิสงต้ม

ถั่วสิสงอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมันดี เส้นใยอาหาร วิตามินบี1,3,6,9 และฟอสฟอรัสสูง ช่วยบำรุงสมองและประสาทตา ช่วยเสริมสร้างความจำ และยังมีโคลีนที่ช่วยควบคุมความจำ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ เนื่องจากในถั่วลิสงมีสารที่ช่วยลดปริมาณของไขมันร้าย (LDL) จึงช่วยลดความเสี่ยงของภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดและภาวะหลอดเลือดแข็งตัวซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ จากคุณประโยชน์มากมายของถั่วลิสงหากนำมาพัฒนาให้เป็นสินค้าสะดวกซื้อสามารถเพิ่มช่องทางการจำหน่ายแก่ให้ผู้บริโภคที่รักสุขภาพได้ อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญของถั่วลิสงคือการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซิน (alflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษและองค์การอนามัยโลกกำหนดให้สารอะฟลาท็อกซินเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง ดังนั้นภายหลังการเก็บเกี่ยวหรือในระหว่างการวางจำหน่ายหากเก็บรักษาเมล็ดถั่วลิสงไม่ดีอาจทำให้เชื้อรา Aspergillus flavus เจริญเติบโตและสร้างสารพิษได้ การฉายรังสีจึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถทำลายเชื้อราสาเหตุและลดการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซินในเมล็ดถั่วลิสง จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การฉายรังสีแกมมาไม่มีผลต่อคุณภาพทางกายภาพ-เคมีและน้ำมันของถั่วชนิดต่างๆ รวมทั้งถั่วลิสง (Nour et al. 2009; Nguyen et al. 2020) แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยด้านผลของระยะเวลาการเก็บรักษาเมล็ดถั่วลิสงที่ผ่านการฉายรังสีแกมมาและผลของรังสีแกมมาต่อคุณภาพของถั่วลิสงต้มยังมีจำกัด งานวิจัยนี้จึงมีสมมติฐานคือการฉายรังสีแกมมาปริมาณสูงสามารถยับยั้งการสร้างสารอะฟลาท็อกซินในเมล็ดถั่วลิสงในระหว่างการเก็บรักษาได้ และถั่วลิสงฉายรังสีแกมมามีคุณภาพในการรับประทานไม่แตกต่างจากถั่วลิสงที่ไม่ผ่านการฉายรังสี


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-07-02 ถึง 13:59