การพัฒนาชุดตรวจดีเอ็นเอไบโอเซนเซอร์เพื่อการวินิจฉัยเชื้อโรคติดต่ออุบัติซ้ำและส่งเสริมความปลอดภัยทางด้านอาหาร
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2022
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2023
คำอธิบายโดยย่อ
โรคติดต่ออุบัติซ้ำในคน (re-emerging infectious disease) จากเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส (porcine streptococcosis in human) มีรายงานพบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้โรคติดเชื้อดังกล่าวมักพบในประเทศที่มีการเลี้ยงหมูเป็นอุตสาหกรรม ได้แก่ ประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และยุโรป, ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบการระบาดในมนุษย์ของเชื้อดังกล่าวในประเทศไทยคิดเป็น 36% ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม รองลงมา คือ เวียดนาม (30%), จีน (22%) และในทวีปยุโรปประมาณ 10.5% จาก 3 outbreaks ที่เกิดขึ้น โดยพบหลักๆ ที่มณฑลเสฉวน เจียงซูในประเทศจีน และทางภาคเหนือของประเทศไทย สาเหตุของการระบาดโดยส่วนใหญ่ในประเทศไทยเกิดจากการรับประทานเนื้อหมูและเลือดหมูดิบที่ติดเชื้อ เช่น ลาบ หลู้ ที่นำเลือดหมูสดๆ มาราดบนเนื้อหมูสุกหรือดิบก่อนรับประทาน คนที่มีสุขภาพแข็งแรงเมื่อได้รับเชื้อดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นจากการกินเนื้อหมู/เลือดหมูดิบที่ปนเปื้อนเชื้อ, คนเลี้ยงหมู, คนทำงานในโรงฆ่าหมู, คนชำแหละหมู, คนขายเนื้อหมูในตลาด, สัตวบาล และสัตวแพทย์ มีโอกาสเสี่ยงสูงที่เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยผ่านบาดแผลตามผิวหนัง หรือเข้าทางเยื่อบุทางตา หรือจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลายของหมู กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปได้มีการ (ร่าง) มาตรการในการแก้ไขปัญหาการติดเชื้อในสัตว์และป้องกันโรคจากสัตว์สู่คน เพื่อป้องกันการติดเชื้อดังกล่าว โดยจะเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ 2022) กำหนดให้มีการให้วัคซีนที่เตรียมจากเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค (autogenous vaccine) ในหมู หนึ่งในนั้นคือเชื้อ S. suis, ฟาร์มเลี้ยงในแต่ละ batch จะต้องมีการควบคุมเรื่องความสะอาดของฟาร์ม, กำจัดเชื้อและเอนโดท๊อกซิน และวัสดุที่ใช้ในการปฏิบัติงานกำหนดให้มีการ sterile รวมถึงกำหนดให้สัตว์แพทย์ต้องมีการตรวจวินิจฉัยและเก็บตัวอย่างเพื่อส่งห้องปฏิบัติการในการตรวจวิเคราะห์
กลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคหูดับจากการติดเชื้อ S. suis ในประเทศไทยพบมากในเพศชาย (83.2%) มากกว่าเพศหญิง ซึ่งมีอายุเฉลี่ยประมาณ 50 ปีขึ้นไป และเคยมีรายงานพบในเด็กอายุน้อยที่สุดประมาณ 1 เดือน ซึ่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และกรมควบคุมโรค ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการเฝ้าระวัง การควบคุม และการป้องกันโรคติดต่ออุบัติซ้ำของเชื้อ S. suis อย่างไรก็ตามเมื่อปี พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) พบผู้ป่วยติดเชื้อดังกล่าว 50 ราย เสียชีวิต 10 ราย ในจังหวัดเชียงราย และล่าสุดตั้งแต่มกราคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2564 พบ 12 รายเสียชีวิตจากการติดเชื้อ S. suis ในกระแสเลือด ซึ่ง 1 รายในนั้นเสียชีวิตเมื่อมิถุนายนที่จังหวัดพิษณุโลก โดยติดเชื้อทางบาดแผลที่นิ้วมือจากการสัมผัสเนื้อหมูแช่แข็งในการเตรียมอาหารเพื่อรับประทานร่วมกับหมาล่า มีอาการท้องเสีย อาเจียน หนาวสั่น ปากเขียว และเสียชีวิตในอีก 1 วันถัดมาโดยประมาณ หากมองในมุมของวิถีชีวิตคนไทยที่นิยมบริโภคอาหารประเภทปิ้ง ย่าง เปลี่ยนไปจากเคยรับประทานนอกบ้าน เมื่อมีโรคระบาดในปัจจุบันเกิดขึ้นทำให้หันมาซื้อและปรุงเองที่บ้านมากขึ้น การมีเชื้อ S .suis ปนเปื้อนในอาหารตามท้องตลาดในประเทศ ย่อมส่งผลต่อผู้บริโภคโดยตรง
วิธีการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ/ตรวจหาเชื้อ S. suis ที่มีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการนำสิ่งส่งตรวจเช่น เลือด, น้ำไขสันหลัง หรือเนื้อเยื่อภายหลังการเสียชีวิต (ภายใน 24 ชั่วโมง) มาทำการเพาะเชื้อบน sheep blood agar แล้วทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี และตรวจหา serotype โดยวิธี multiplex polymerase chain reaction (multiplex PCR) ซึ่งในปัจจุบันมีชุดน้ำยาสำเร็จรูปในการทำ PCR ยี่ห้อ Qiagen ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการตรวจหา genus-specific gene, species-specific gene เป็นต้น ซึ่งสำหรับประเทศไทยมี 4 แหล่งที่ให้บริการสำหรับการตรวจวิเคราะห์เชื้อ S. suis จากหน่วยงานภาครัฐภายใต้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ 1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 2. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 นครสวรรค์ 3. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 เชียงใหม่ และ 4. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 13 เชียงราย โดยให้บริการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีดังที่กล่าวในข้างต้น
ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์เชื้อ S. suis หลากหลายวิธี ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 platforms ใหญ่ๆ ได้แก่ 1. วิธีการทดสอบทางจุลชีววิทยา เป็นการพัฒนาอาหารเพาะเชื้อแบบ selective เช่น A modified Todd-Hewitt Broth agar และ 5% defibrinated sheep blood ร่วมกับ crystal violet 2. วิธีการทดสอบทางอิมมูโนวิทยา (Immunological assay) เช่น การพัฒนาชุดตรวจรูปแบบ colloidal gold immunochromatographic strips ซึ่งเป็นการตรวจหาแอนติเจนของ S.suis ได้ในระดับน้อยที่สุดที่ 105 CFU/mL 3. วิธีการทดสอบทางอณูชีววิทยา (Molecular test) เช่น Multiplex PCR ซึ่งสามารถใช้ในการตรวจสอบ serotype ของ S. suis ในระดับน้อยที่สุดที่ 104-105 CFU
อย่างไรก็ตามวิธีการเพาะเชื้อเป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ มีข้อจำกัดในเรื่องความเชี่ยวชาญชำนาญของผู้ทดสอบ ห้องปฏิบัติการและแหล่งที่รับบริการรองรับในการตรวจวิเคราะห์ที่มียังไม่มากนัก และการเข้าถึงแหล่งผู้ให้บริการสำหรับฟาร์มเลี้ยงในระดับท้องถิ่น ชุมชน ตามจังหวัดต่างๆ ที่ไม่มีศูนย์บริการรองรับ หรือการขนส่งตัวอย่างข้ามจังหวัดเพื่อไปยังแหล่งผู้ให้บริการตรวจวิเคราะห์เป็นไปค่อนข้างลำบาก รวมถึงวิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 3-5 วัน จึงจะทราบผล สำหรับวิธีทางอิมูโนวิทยาเป็นวิธีที่มีความจำเพาะสูง มีขั้นตอนไม่มากสำหรับการตรวจวิเคราะห์ แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องของความไวในการตรวจ และแอนติบอดีที่ผลิตในอุตสาหกรรมมีน้อยแหล่งผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 13485 และเมื่อนำทั้งสองวิธีมาเปรียบเทียบกันก็ยังพบความไม่สอดคล้องกัน สำหรับการตรวจด้วยวิธีทางอณูชีววิทยา วิธี PCR ต้องอาศัยเทคนิคทางอณูชีววิทยาซึ่งต้องใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยา PCR ด้วยเครื่องมือหลายชิ้น และต้องอาศัยทักษะเฉพาะของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทดสอบ แต่มีข้อดีในการตรวจหาเชื้อที่มีปริมาณเล็กน้อยได้
นอกจากนี้ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการนำเข้าชุดน้ำยาและชุดตรวจวินิจฉัยโรคจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากจากสหรัฐอเมริกา เยอรมัน เกาหลีใต้ จีน เป็นต้น ทำให้มีข้อจำกัดด้านการนำเข้า การต่อรองด้านต่างๆ หรือตลาดเป็นของผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค, การนำเข้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ กลายเป็นลักษณะของการนำเข้าสินค้าที่ควบคู่กับการซื้อ Know-how ของเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามประเทศไทยทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว รวมถึงการระบาดของโรคต่างๆ ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านการแพทย์ ปศุสัตว์ และสาธารณสุขทั่วโลก ซึ่งองค์กรต่างๆ ของแต่ละประเทศมีหน้าที่ในการดำเนินการวางแผนการจัดการ แก้ไขและหาวิธีป้องกันมาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณอย่างหลากหลายมิติรวมถึงด้านการวิจัยและพัฒนา และด้านการพัฒนาระบบ, ดังเห็นได้จากเมื่อเทคโนโลยีชุดตรวจวินิจฉัยโรคชนิดรวดเร็วได้พัฒนาขึ้น ทำให้การตรวจคัดกรองวินิจฉัยโรคต่างๆ เบื้องต้น สามารถทำได้อย่างรวดเร็วขึ้นในพื้นที่ทดสอบ (point-of-care) เช่น ชุดตรวจคัดกรองโรค Covid-19 ด้วยตนเอง ที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีการริเริ่มในการนำมาตรฐานสากลมาใช้ในการตรวจรับรองชุดตรวจรวดเร็วชนิดนั้นๆ เร็วขึ้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ที่มีการยอมรับและมีความน่าเชื่อถือในการใช้งานสำหรับผู้บริโภค อีกทั้งการตรวจคัดกรองที่ทราบผลเร็วขึ้น ส่งผลให้การรักษาผู้ป่วยในพื้นที่บริเวณต่างๆ ในขั้นต้นได้เร็วขึ้น หรือหากการตรวจหาเชื้อในอาหาร/ผัก/ผลไม้/ผลไม้พร้อมทานจากรถเข็นหรือที่ขายทั่วไปในตลาดที่ทราบผลได้เร็ว จะส่งผลให้เกิดการควบคุมการแพร่ระบาดเป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการมีและพึ่งพาเทคโนโลยีของตนเองในประเทศ และเพื่อการควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำดังกล่าว ซึ่งพบการระบาดมากในประเทศไทย ผลจากการพัฒนาวิธีการตรวจดีเอ็นเอเพื่อการวินิจฉัยเชื้อโรคติดต่ออุบัติซ้ำในโครงการวิจัยนี้ในระดับห้องปฏิบัติการ จะเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการ scale-up สำหรับการขอรับรองชุดตรวจสำเร็จรูป เทคโนโลยีของการพัฒนาชุดตรวจดังกล่าวจะสามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะด้านเทคโนโลยีชีวภาพ/อณูชีววิทยา (molecular) ให้แก่นักศึกษา/ผู้ช่วยวิจัย ซึ่งเป็นทักษะที่ปัจจุบันเป็นคุณสมบัติหนึ่งในการพิจารณาประสบการณ์ในการทำงานเพื่อปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการของภาคเอกชนต่างๆ และจะสามารถต่อยอดทางด้านวิชาการเพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัยร่วมกับนานาชาติ, ไปถึงส่งต่อเทคโนโลยีในการผลิตและการใช้งาน ขยายจำนวนแหล่งผู้ให้บริการตรวจคัดกรองไปในวงกว้าง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดการนำเข้าชุดทดสอบจากต่างประเทศ เป็นชุดตรวจทุ่นแรงช่วยหน่วยงานของภาครัฐในการทำงานสำหรับการตรวจติดตาม เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค เพื่อนำข้อมูลการตรวจพบเป็นแนวทางในการจัดทำแผนเพื่อกำหนดมาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์ เพื่อควบคุมและป้องกันการติดเชื้อทั้งในผู้ที่มีความเสี่ยงในการสัมผัส และผู้บริโภคได้ รวมถึงส่งต่อความรู้ด้านการใช้งานไปยังผู้บริโภค/ผู้ขายอาหาร เพื่อใช้สำหรับการตรวจด้วยตนเองที่อาจจะต้องมีการรับรองผลตรวจจากตัวอย่างที่เก็บมาได้โดยหน่วยทดสอบวิเคราะห์ที่ได้รับการรับรอง ในลำดับต่อๆ ไป
- หลักการและเหตุผล/ปัญหา/โจทย์การวิจัย
- ประเด็นที่ 1 ด้าน “โรคติดต่ออุบัติซ้ำในคน (re-emerging infectious disease) จากเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส (porcine streptococcosis in human)”
จากการรายงานการประเมินอุบัติการณ์ของการติดเชื้อในมนุษย์ในช่วงที่เพิ่งผ่านมาหรือแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ ข้อมูลโดย WHO Thailand พบว่า มากกว่า 70% ที่เกิดโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน (zoonotic) รวมถึงการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในกลุ่ม Transboundary animal diseases ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น หนึ่งในนั้นคือโรคหูดับหรือโรคติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส (Streptococcus suis) ที่พบได้ในประเทศทั่วโลก และมักพบในประเทศที่มีการเลี้ยงหมูเป็นอุตสาหกรรมในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และยุโรป, ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบการระบาดในมนุษย์ของเชื้อดังกล่าวในประเทศไทยคิดเป็น 36%, เวียดนาม (30%), จีน (22%) และในทวีปยุโรปประมาณ 10.5% จาก 3 outbreaks ที่เกิดขึ้น, พบหลักๆ ได้แก่ มณฑลเสฉวน เจียงซูในประเทศจีน และทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมีการรายงานพบการระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าวสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม
โรคหูดับจากเชื้อ S. suis ในประเทศไทยพบมากในเพศชาย (83.2%) มากกว่าเพศหญิง ซึ่งมีอายุเฉลี่ยประมาณ 50 ปีขึ้นไป และเคยมีรายงานพบในเด็กอายุน้อยที่สุดประมาณ 1 เดือน โดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ กรมควบคุมโรค ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการเฝ้าระวัง การควบคุม และการป้องกันโรคติดต่ออุบัติซ้ำของเชื้อ S. suis โดยเฉพาะในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เช่น ลำปาง พะเยา อุตรดิษถ์ นครราชสีมา พิษณุโลก สุโขทัย แพร่ น่าน และเชียงราย ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) พบผู้ป่วยติดเชื้อดังกล่าว 50 ราย เสียชีวิต 10 ราย ในจังหวัดเชียงราย และล่าสุดตั้งแต่มกราคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2564 พบ 12 รายเสียชีวิตจากการติดเชื้อ S. suis ในกระแสเลือด ซึ่ง 1 รายในนั้นเสียชีวิตเมื่อมิถุนายในจังหวัดพิษณุโลก โดยติดเชื้อทางบาดแผลที่นิ้วมือ ที่สัมผัสเนื้อหมูแช่แข็งในการเตรียมอาหารเพื่อรับประทานร่วมกับหมาล่า และกลางดึกเริ่มมีอาการท้องเสีย อาเจียน มีอาการปวดกระดูก หนาวสั่น ปากเขียว และเสียชีวิตในอีก 1 วันถัดมาโดยประมาณ
สาเหตุของการระบาดโดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย คิดเป็นสัดส่วน 55.8% เกิดจากการรับประทานเนื้อหมูและเลือดหมูดิบที่ติดเชื้อ เช่น ลาบ หลู้ ที่นำเลือดหมูสดๆ มาราดบนเนื้อหมูสุกหรือดิบก่อนรับประทาน คนที่มีสุขภาพแข็งแรงเมื่อได้รับเชื้อดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นจากการกินเนื้อหมู/เลือดหมูดิบที่ปนเปื้อนเชื้อ, คนเลี้ยงหมู, คนทำงานในโรงฆ่าหมู, คนชำแหละหมู, คนขายเนื้อหมูในตลาด, สัตวบาล และสัตวแพทย์ มีโอกาสเสี่ยงสูงที่เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยผ่านบาดแผลตามผิวหนัง หรือเข้าทางเยื่อบุทางตา หรือจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลายของหมู และก่อให้เกิดโรคไข้หูดับ ที่มีระยะฟักตัวประมาณ 1-3 วัน อาการของโรค ได้แก่ มีไข้สูงเฉียบพลัน มีอาการ Streptococcal Toxic Shock Syndrome (STSS) เนื้อเยื่อตาย ปวดศีรษะ คลื่นเหียน เยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลัน หากเชื้อเข้าระบบปลายประสาทหูทำให้สูญเสียการได้ยิน หูหนวก หากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทตาจะทำให้ม่านตาอักเสบ ลูกตาฝ่อ หรือตาบอด บางรายติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยไม่พบภาวะเยื่อหุ้มสมอง บางรายแสดงอาการไข้ร่วมกับมีผื่น หลอดเลือดอักเสบ และอุจจาระร่วง บางรายติดเชื้อในเยื่อหุ้มหัวใจแบบกึ่งเฉียบพลัน ข้ออักเสบหรือลิ้นหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยที่รอดชีวิตภายหลังจากอาการป่วย บางรายยังคงมีความพิการหลงเหลืออยู่ เช่น หูหนวกทั้ง 2 ข้าง และเป็นอัมพาตครึ่งซีก มีความผิดปกติในการทรงตัว นอกจากนี้ยังมีรายงานความเสี่ยงการติดโรคนี้มากขึ้นในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยติดสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจ เป็นต้น
วิธีการรักษาโรคไข้หูดับคือการให้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเบต้า-แลคแตม เช่น penicillin, ampicillin, amoxicillin หรือ Ceftriaxone เข้าหลอดเลือดดำ ในรายที่แพ้ยาดังกล่าวอาจใช้ Vancomycin ทั้งนี้เชื้อมักดื้อต่อ Erythromycin หรือยาในกลุ่ม Sulfa-group
การป้องกันการะบาดของโรค porcine streptococcosis ในหมู ปัจจุบันมีการใช้หลายๆ วิธี ได้แก่ 1. การให้วัคซีนป้องกัน S. suis serotype ต่างๆ ในหมู ด้วย inactive pathogen, 2. การกำจัดเชื้อในฟาร์มเลี้ยงหมูและปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย (sanitary rules) และความปลอดภัยของอาหาร (food safety), 3. แยกหมูที่ป่วยเพื่อกักโรคออกจากหมูสุขภาพดี สำหรับการป้องกันการติดเชื้อโรคดังกล่าวในคน ในกรณีต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหมู 1. ต้องสวมรองเท้าบู๊ต สวมถุงมือ สวมเสื้อผ้าที่รัดกุม สวมหน้ากาก หรือเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันการถูกกัดหรือสัมผัสสารคัดหลั่งของหมู น้ำมูก น้ำลายได้โดยตรง 2. ล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัวให้สะอาดหลังการสัมผัสหมู/เนื้อหมู 3. หลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการสัมผัสหมู/เนื้อหมูหากมีบาดแผลตามร่างกาย และสำหรับบุคคลทั่วไปต้องไม่ซื้อหมูที่ตายจากโรคหรือมีกลิ่นคาว สีคล้ำ เนื้อยุบ และไม่รับประทานเนื้อหมูที่ไม่สุกดี เช่น หมูกระทะหรือจิ้มจุ่มที่ไม่สุกพอ หรือ ลาบ-หลู้ดิบๆ หรือต้องทำให้หมูสุกโดยการต้มในน้ำร้อนตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป นานอย่างน้อย 10 นาที หรือ ต้มจนน้ำต้มไม่มีสีแดง เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปได้มีการ (ร่าง) มาตรการในการแก้ไขปัญหาการติดเชื้อในสัตว์และป้องกันโรคจากสัตว์สู่คน เพื่อป้องกันการติดเชื้อดังกล่าว โดยจะเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ 2022) กำหนดให้มีการให้วัคซีนที่เตรียมจากเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค (autogenous vaccine) ในหมู หนึ่งในนั้นคือเชื้อ S. suis, ฟาร์มเลี้ยงในแต่ละ batch จะต้องมีการควบคุมเรื่องความสะอาดของฟาร์ม, กำจัดเชื้อและเอนโดท๊อกซิน และวัสดุที่ใช้ในการปฏิบัติงานกำหนดให้มีการ sterile รวมถึงกำหนดให้สัตว์แพทย์ต้องมีการตรวจวินิจฉัยและเก็บตัวอย่างเพื่อส่งห้องปฏิบัติการในการตรวจวิเคราะห์
วิธีการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ/ตรวจหาเชื้อ S. suis ที่มีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการนำสิ่งส่งตรวจเช่น เลือด, น้ำไขสันหลัง หรือเนื้อเยื่อภายหลังการเสียชีวิต (ภายใน 24 ชั่วโมง) มาทำการเพาะเชื้อบน sheep blood agar แล้วทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี และตรวจหา serotype โดยวิธี multiplex polymerase chain reaction (multiplex PCR) ซึ่งในปัจจุบันมีชุดน้ำยาสำเร็จรูปในการทำ PCR ยี่ห้อ Qiagen ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการตรวจหา genus-specific gene, species-specific gene เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถตรวจวิเคราะห์ ribotyping โดยการเพาะเชื้อใน brain-heart infusion blood agar สกัดดีเอ็นเอแล้วใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะ และทำการ hybridization กับ Escherichia coli rrnB rRNA operon probe ร่วมกับเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ RiboPrinter microbial characterization system (DuPont China, Shenzhen, China)
สำหรับประเทศไทยมี 4 แหล่งที่ให้บริการของภาครัฐภายใต้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยให้บริการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีการเพาะเชื้อ, ทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี และวิเคราะห์ serotype ด้วย multiplex PCR ดังที่กล่าวในข้างต้น ได้แก่ 1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 2. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 นครสวรรค์ 3. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 เชียงใหม่ และ 4. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 13 เชียงราย
อย่างไรก็ตามการส่งเสริมคุณภาพอาหารปลอดภัยในผลิตภัณฑ์อาหาร (food safety) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และสร้างความเข้มแข็งด้านคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยง ไปจนร้านขายอาหารทั่วไป ร้านขายเนื้อหมูในตลาดสด ที่มีข้อจำกัดด้านความพร้อมของเครื่องมือและทักษะในการตรวจคัดกรองผลิตภัณฑ์ในแต่ละรอบ (batch) ของผลิตภัณฑ์ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง (ผู้สัมผัส) และผู้บริโภค อีกทั้งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยในอาหารดิบประเภทเนื้อหมูด้านจุลชีววิทยาของเชื้อดังกล่าว และห้องปฏิบัติการที่รับบริการตรวจวินิจฉัยเชื้อดังกล่าวในปัจจุบันสำหรับประเทศไทยยังมีจำนวนไม่มากนัก และการเข้าถึงแหล่งผู้ให้บริการของฟาร์มเลี้ยงในระดับท้องถิ่น ชุมชน ตามจังหวัดต่างๆ ที่ไม่มีศูนย์บริการรองรับ หรือการขนส่งตัวอย่างข้ามจังหวัดเพื่อไปยังแหล่งผู้ให้บริการตรวจวิเคราะห์เป็นไปค่อนข้างลำบาก รวมถึงวิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 3-5 วัน จึงจะทราบผล แต่ในขณะที่ประเทศไทย เวียดนาม และจีน มีการายงานพบการระบาดมากนั้น การมีเชื้อดังกล่าวปนเปื้อนในอาหารดิบประเภทเนื้อหมูหรืออาหารชนิดอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบกับภาคอุตสาหกรรมอาหาร ด้านสาธารณสุข ปศุสัตว์ และภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหารจากเชื้อในกลุ่ม zoonotic ตลอด supply chain ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงไปจนถึงร้านค้าปลีก ซึ่งในอดีตภาคอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยในตลาดโลกเคยมีการกีดกันทางการค้าเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และส่งผลให้มีการกักกัน (detention) การเรียกคืนหรือตีกลับสินค้า (recall) รวมถึงการขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ส่งออกสินค้าและรายการสินค้าที่มีปัญหาในตลาดการค้าสากล ในกรณีที่เกิดการปนเปื้อนในอาหารตามท้องตลาดในประเทศ ย่อมส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง ดังผู้ป่วยรายที่เสียชีวิตอันเนื่องมาจากได้รับเชื้อทางบาดแผลที่นิ้วมือขณะเตรียมอาหาร โดยหากมองในมุมของวิถีชีวิตคนไทยที่นิยมบริโภคอาหารประเภทปิ้ง ย่าง หรือต้มไม่สุกเต็มที่ รวมถึงมีการเปลี่ยนสถานที่จากเมื่อก่อนรับประทานอาหารประเภทดังกล่าวนอกบ้าน เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นทำให้หันมาซื้อและปรุงเองที่บ้าน ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายในการพัฒนาการตรวจในรูปแบบของดีเอ็นเอเพื่อการวินิจฉัยเชื้อ S. suis แบบรวดเร็ว โดยคาดหวังที่จะเป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่งสำหรับเป็นข้อมูลฐานในการเป็นชุดตรวจทุ่นแรงช่วยหน่วยงานของภาครัฐในการทำงานสำหรับการตรวจติดตาม เฝ้าระวัง เพื่อนำข้อมูลการตรวจพบเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนเพื่อกำหนดมาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์ เพื่อควบคุมและป้องกันการติดเชื้อทั้งในผู้ที่มีความเสี่ยงในการสัมผัส และผู้บริโภคได้ หรือผู้บริโภคจะสามารถใช้ตรวจอาหารด้วยตนเองได้ในลำดับต่อๆ ไป
- ประเด็นที่ 2 ด้าน “การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์เชื้อ S. suis”
เทคนิคที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อ S. suis ในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 platforms ใหญ่ๆ ได้แก่ 1. วิธีการทดสอบทางจุลชีววิทยา เป็นการพัฒนาอาหารเพาะเชื้อแบบ selective เช่น A modified Todd-Hewitt Broth agar และ 5% defibrinated sheep blood ร่วมกับ crystal violet 2. วิธีการทดสอบทางอิมมูโนวิทยา (Immunological assay) เช่น การพัฒนาชุดตรวจแบบ colloidal gold immunochromatographic strips ซึ่งเป็นการตรวจหาแอนติเจนของ S.suis ได้ในระดับน้อยที่สุดที่ 105 CFU/mL และวิธีอิมมูโนวิทยาร่วมกับการวิเคราะห์ทางเคมีไฟฟ้า โดยใช้ L-cysteine ร่วมกับ metal nanochains และแอนติบอดี 3. วิธีการทดสอบทางอณูชีววิทยา (Molecular test) เช่น Multiplex PCR ซึ่งสามารถใช้ในการตรวจสอบ serotype ของ S. suis ในระดับน้อยที่สุดที่ 104-105 CFU
อย่างไรก็ตามวิธีการเพาะเชื้อเป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ มีข้อจำกัดในเรื่องความเชี่ยวชาญชำนาญของผู้ทดสอบ ห้องปฏิบัติการและแหล่งที่รับบริการรองรับในการตรวจวิเคราะห์ที่มียังไม่มากนัก สำหรับวิธีทางอิมูโนวิทยาเป็นวิธีที่มีความจำเพาะสูง มีขั้นตอนไม่มากสำหรับการตรวจวิเคราะห์ แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องของความไวในการตรวจ และแอนติบอดีที่ผลิตในอุตสาหกรรมมีน้อยแหล่งการผลิตที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 13485 และเมื่อนำทั้งสองวิธีมาเปรียบเทียบกันก็ยังพบความไม่สอดคล้องกัน สำหรับการตรวจด้วยวิธีทางอณูชีววิทยา วิธี PCR ต้องอาศัยเทคนิคทางอณูชีววิทยาซึ่งต้องใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยา PCR ด้วยเครื่องมือหลายชิ้น และต้องอาศัยทักษะเฉพาะของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทดสอบ แต่มีข้อดีในการตรวจหาเชื้อที่มีปริมาณเล็กน้อยได้ ดังนั้นโครงการวิจัยนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาการตรวจในรูปแบบของดีเอ็นเอเพื่อการวินิจฉัยเชื้อ S. suis แบบรวดเร็ว โดยใช้วิธีทางอณูชีววิทยา เพื่อที่จะเป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่งสำหรับเป็นข้อมูลฐานในการพัฒนาเทคโนโลยี เป็นชุดตรวจทุ่นแรงช่วยหน่วยงานของภาครัฐในการทำงานสำหรับการตรวจติดตาม เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อ S. suis เพื่อนำข้อมูลการตรวจพบเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนเพื่อกำหนดมาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์ เพื่อควบคุมและป้องกันการติดเชื้อทั้งในผู้ที่มีความเสี่ยงในการสัมผัส และผู้บริโภคได้ หรือผู้บริโภคจะสามารถใช้ตรวจอาหารด้วยตนเองได้ในลำดับต่อๆ ไป
- ประเด็นที่ 3 ด้าน “การนำเข้าชุดทดสอบชนิดรวดเร็วจากต่างประเทศ”
ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการนำเข้าชุดน้ำยาและชุดตรวจวินิจฉัยโรคจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากจากสหรัฐอเมริกา เยอรมัน เกาหลีใต้ จีน เป็นต้น ทำให้มีข้อจำกัดด้านการต่อรองต่างๆ เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น ตลาดการซื้อขายเป็นของผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค, การนำเข้าผลิตภัณฑ์นั้นๆ จะเป็นลักษณะของการนำเข้าสินค้าที่ควบคู่กับการซื้อ Know-how ของเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามประเทศไทยทั้งในมุมของภาครัฐและภาคเอกชนที่มีการเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว รวมถึงการระบาดของโรคต่างๆ ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านการแพทย์ และสาธารณสุขทั่วโลก ซึ่งองค์กรต่างๆ ของแต่ละประเทศมีหน้าที่ในการดำเนินการวางแผนการจัดการ แก้ไขและหาวิธีป้องกันมาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณอย่างหลากหลายมิติรวมถึงด้านการวิจัยและพัฒนา, เมื่อเทคโนโลยีชุดตรวจวินิจฉัยโรคชนิดรวดเร็วได้พัฒนาขึ้น ทำให้การตรวจคัดกรองวินิจฉัยโรคต่างๆ เบื้องต้น สามารถทำได้อย่างรวดเร็วขึ้นในพื้นที่ทดสอบ (point-of-care) เช่น ชุดตรวจคัดกรองโรค Covid-19 ด้วยตนเอง ที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีการริเริ่มในการนำมาตรฐานสากลมาใช้ในการตรวจรับรองชุดตรวจชนิดรวดเร็วนั้นๆ เร็วขึ้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในการใช้งานสำหรับผู้บริโภค อีกทั้งการตรวจคัดกรองที่ทราบผลเร็วขึ้น ส่งผลให้การรักษาผู้ป่วยในพื้นที่บริเวณต่างๆ ในขั้นต้นเร็วขึ้น หรือการตรวจหาเชื้อในอาหาร/ผัก/ผลไม้ที่ขายทั่วไปในท้องตลาดที่ทราบผลได้เร็ว จะส่งผลให้เกิดการควบคุมการแพร่ระบาดเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการมีหรือพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นของตนเองในประเทศ และเพื่อการควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำดังกล่าว ซึ่งพบการระบาดมากในประเทศไทย การพัฒนาชุดตรวจในรูปแบบดีเอ็นเอ เพื่อการวินิจฉัยเชื้อโรคติดต่ออุบัติซ้ำในการโครงการวิจัยนี้คาดหวังที่จะเป็นกำลังส่วนหนึ่งสำหรับเป็นข้อมูลฐานในการช่วยลดการนำเข้าชุดทดสอบจากต่างประเทศ เป็นชุดตรวจทุ่นแรงช่วยหน่วยงานของภาครัฐในการทำงานสำหรับการตรวจติดตาม เฝ้าระวัง เพื่อนำข้อมูลการตรวจพบเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนเพื่อกำหนดมาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์ เพื่อควบคุมและป้องกันการติดเชื้อทั้งในผู้ที่มีความเสี่ยงในการสัมผัส และผู้บริโภคได้ หรือผู้บริโภคจะสามารถใช้ตรวจอาหารด้วยตนเองได้ในลำดับต่อๆ ไป
คำสำคัญ
- เชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง