การผลิตวัสดุกันกระแทกจากเศษวัสดุเหลือทิ้งจากเปลือกมะพร้าวน้ำหอม


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

มะพร้าวน้ำหอมจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย โดยจังหวัดราชบุรีมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมมากที่สุด เนื่องจากความสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดินของพื้นที่ปลูกทำให้มะพร้าวน้ำหอมของจังหวัดราชบุรีมีความโดดเด่นในเรื่องความหอมหวาน และเนื้อนุ่ม จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และมีการขยายตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณวัสดุเหลือทิ้งจากการแปรรูปมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการบริโภคและการส่งออกมีปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะเปลือกมะพร้าวน้ำหอมซึ่งยังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์เท่าที่ควร เนื่องจากจังหวัดราชบุรีมีนโยบายเป็นจังหวัดนำร่องในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG การนำวัสดุเหลือทิ้งเปลือกมะพร้าวน้ำหอมมาใช้ประโยชน์จึงเป็นแนวทางการลดของเสียและการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดดังกล่าว โดยงานวิจัยนี้จะนำเปลือกมะพร้าวน้ำหอมมาพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุกันกระแทกด้วยกระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีการผลิต วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือ การหาสภาวะและวิธีการที่เหมาะสมในการขึ้นรูปวัสดุกันกระแทกจากเปลือกมะพร้าวน้ำหอม และการออกแบบวัสดุกันกระแทกสำหรับการใช้งานต่าง ๆ โดยการศึกษานี้เป็นการคิดค้นวัสดุผสมที่สามารถนำไปขึ้นรูป โดยมีกระบวนการในการหมักด้วยกรดอินทรีย์และการแปรรูป จากนั้นนำกากใยมะพร้าวไปขึ้นรูปบนแม่พิมพ์แบบอัดขึ้นรูป โดยเครื่องพิมพ์สามมิติ มีการทดสอบความแข็งแรงของวัสดุด้วยโครงสร้างที่ออกแบบมาหลายรูปแบบ ก่อนการนำแม่พิมพ์ไปใช้หรือเผยแพร่แก่วิสาหกิจชุมชนจะมีการทดสอบสมบัติทางกายภาพและทดสอบด้านการรับรู้ของผู้ใช้เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะทำตลาดทั้งในและต่างประเทศ  การออกแบบวัสดุและแม่พิมพ์จะเน้นความสามารถในการผลิตของชุมชน 


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-12 ถึง 15:05