Population assessment and management identification for effective conservation planning of threatened species


Principal Investigator


Co-Investigators


Other Team Members

No matching items found.


Project details

Start date01/10/2022

End date30/09/2023


Abstract

โครงการวิจัยนี้มีเป้าหมายที่จะสร้างเสริมฐานข้อมูลด้านสัตว์ป่าโดยเฉพาะข้อมูลด้านประชากรเบื้องต้นและข้อมูลพลวัตรประชากร เพื่อใช้เป็นคลังข้อมูลสำหรับการประเมินผลกระทบระยะยาวต่อประชากรสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากภัยคุกคามของมนุษย์และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ด้วยสิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน และสัตว์ป่าแต่ละชนิดมีความเปราะบางแตกต่างกันแล้วแต่สภาพพื้นที่ที่อยู่อาศัย เพื่อความเข้าใจในการตอบสนองของสัตว์ป่าต่อการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายรูปแบบ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องวางแนวทางการศึกษาให้กว้างเพื่อครอบคลุมสภาพพื้นที่และชนิดพันธุ์ที่เป็นตัวบ่งชี้ของผลกระทบ คณะนักวิจัยจึงเลือกสัตว์ในกลุ่มนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศต่างๆในประเทศไทย ทั้งป่าบก ป่าชายเลน และพื้นที่ชุ่มน้ำ ทั้งนี้สัตว์ป่าหลายชนิดไม่มีงานศึกษาวิจัยพื้นฐานที่จะสามารถนำไปวิจัยต่อยอดได้ทั้งหมด มีเพียงบางชนิดที่ทางห้องปฏิบัติการนิเวศวิทยาการอนุรักษ์ได้ทำการศึกษาไปบางส่วน การทำวิจัยในครั้งนี้จึงแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ดังนี้ 1) ส่วนข้อมูลสถานภาพการกระจายและขนาดประชากรเบื้องต้น 2) ส่วนการทำวิจัยติดตามตรวจสอบระยะยาวในพื้นที่ที่มีข้อมูลพื้นฐานแล้วบางส่วน (พื้นที่ที่เป็นแหล่งประชากรที่สำคัญและพื้นที่ที่มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของประชากรในระยะยาว) เพื่อให้เห็นภาพรวมข้อมูลทางด้านสถิติประชากรในพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์สัตว์นั้นๆ ทั้งนี้ภัยคุกคามและระดับของภัยคุกคามในแต่ละพื้นที่และแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญต่อการวางแผนการจัดการการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันสัตว์ป่ามีการใช้พื้นที่ซ้อนทับกับมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากต่อการจัดการสัตว์ป่านอกพื้นที่อนุรักษ์ ด้วยเหตุนี้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชจัดให้แผนการปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ยุทธศาสตร์: สงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอย่างบูรณาการและยั่งยืน) เป็นประเด็นสำคัญต่อการศึกษาวิจัยระดับชาติ (สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) การดำรงรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพและสมดุลของระบบนิเวศ นำไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งรายได้หลักของชุมชน สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ดังนั้นการวางแนวทางศึกษาวิจัยที่ครอบคลุมในหลากหลายมิติทั้งชนิดพันธุ์สัตว์และสภาพสังคมป่าจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด เพื่อตอบโจทย์การบูรณาการการจัดการสัตว์ป่าและป่าไม


Keywords

  • biodiversity
  • ecosystem equilibrium
  • human-wildlife conflict
  • population viability analysis


Strategic Research Themes


Publications

No matching items found.


Last updated on 2024-11-12 at 15:05