นโยบายสาธารณะสำหรับเมืองและรูปแบบการอยู่อาศัยหลังการระบาดไวรัสโควิด 19 เพื่อสุขภาวะที่ดีผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเปิด และกระบวนการเพลสเมกกิ้ง กรณีศึกษาเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2022
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2023
คำอธิบายโดยย่อ
โครงการพัฒนาพื้นที่เขตคลองสาน หนึ่งใน “ย่านนวัตกรรมกรุงเทพ” เป็นโครงการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อฟื้นฟู และพัฒนาพื้นที่ หลังสถาณการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 และเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในอนาคตภายใต้แผนการพัฒนาระยะ 5 ปี 10 ปี ของกรุงเทพมหานคร โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กรการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ ในพื้นที่เพื่อรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมของเขตคลองสานไว้ ผ่านการบูรณาการฐานข้อมูลเปิด (Open Data Platform) และสร้างระบบ Data Ecosystem and Innovation
จากการคาดการณ์ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์พบว่าหลังจากการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าส่งผลให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 31.9 เมื่อเทียบกับปี 2563 ซึ่งสวนทางกับความต้องการที่อยู่อาศัยของกลุ่มแรงงานในพื้นที่ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ส่งผลให้รูปแบบการใช้ชีวิตของประชากรวัยแรงงานเปลี่ยนแปลงไป การทำงานในพื้นที่สำนักงานลดลง ซึ่งรูปแบบอาคารที่อยู่อาศัยปัจจัยไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงได้มากพอ และแนวโน้มการลาออกจากงานเพิ่มสูงขึ้น (The Great Resignation) อีกทั้งปัญหาสุขภาวะที่ตามมาจากการระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้การจัดการ/การวางแผนด้านสังคม เศรษฐกิจในรูปแบบเดิม ๆ ไม่สามารถฟื้นฟูการเปลี่ยนแปลงนี้ได้มากนัก ดังนั้นการดำเนินงานโครงการเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาให้เป็นนโยบายสาธารณะและต้นแบบการพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของพื้นที่คลองสาน จึงเน้นการทำงานแบบบูรณาการเครื่องมือ (เครื่องมือทางด้านสังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี) วิธีการมองประเด็นปัญหาในปัจจุบัน และคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต (Masterplan and Action Plan)
การดำเนินงานโครงการแบ่งเป็น 3 ระยะภายใต้วัตถุประสงค์ที่ 1) สร้างระบบและเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลเชิง เพื่อรองรับการวางแผนพัฒนาสุขภาวะที่ดีในพื้นที่เขตคลองสานในอนาคต 2) เสนอนโยบายสาธารณะและรูปแบบการอยู่อาศัยเพื่อสุขภาวะที่ดีในเขตคลองสานภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และอนาคต 3) เสนอแนวรูปแบบการลงทุนเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่ และรูปแบบการพัฒนาพื้นที่แบบมีส่วนร่วม ด้วยขบวนการ Place Making ซึ่งจะส่งผลให้เกิดนวัตกรรมการพัฒนาพื้นที่ผ่านการใช้ข้อมูลเปิดควบคู่ไปกับการพัฒนากระบวนการยกระดับคุณภาพชีวิต ที่จะก่อให้เกิดแนวทางรูปแบบใหม่ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ
- post covid 19
- Public policy
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง