ผลของบราสิโนสเตอรอยด์ร่วมกับน้ำตาลต่อการชะลอการเสื่อมคุณภาพและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้าพันธุ์ ‘Sansai Blue’ และ ‘Kanun Blue’ หลังจากได้รับเอทิลีนจากภายนอก
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2022
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2023
คำอธิบายโดยย่อ
- “ผลของบราสิโนสเตอรอยด์ร่วมกับน้ำตาลต่อการชะลอการเสื่อมคุณภาพและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้าพันธุ์ ‘Sansai Blue’ และ ‘Kanun Blue’ หลังจากได้รับเอทิลีนจากภายนอก” เป็นโครงการที่ยื่นเสนอขอของบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กลุ่ม Fundamental Fund องค์ความรู้พื้นฐาน ปีงบประมาณ 2566 ระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปี โดย ผศ.ดร. มัณฑนา บัวหนอง เป็นหัวหน้าโครงการ และผู้ร่วมวิจัยคือ รศ.ดร. เฉลิมชัย วงษ์อารี และ ดร. สุดารัตน์ ขุนเมือง หน่วยงานรับผิดชอบหลักคือสาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- โดยใช้วิธีหรือสารที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้า และคำนึงถึงการจำกัดการใช้สารเคมีในระบบการเกษตรที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในการป้องกันหรือชะลออาการซีดจางของกลีบดอกกล้วยไม้แวนด้าถูกชักนำโดยเอทิลีนจากภายนอก เพื่อให้มีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวที่ได้มาตรฐาน สามารถสามารถแข่งขันในตลาดโลก และเพิ่มมูลค่าในการส่งออกดอกกล้วยไม้ไปยังตลาดประมูลดอกไม้ในระดับโลกได้ โดยศึกษาการใช้บราสิโนสเตอรอยด์ร่วมกับน้ำตาล ในการชะลอการเสื่อคุณภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาต่าง ๆ พร้อมทั้งวิเคราะห์การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์และการสลายรงควัตถุหลักในกลีบดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้า คือ แอนโทไซยานิน เช่น phenylalanine amonialyase (PAL), chalcone synthase (CHS), flavanone 3-hydroxylase (F3H) และ dihydroflavonol 4-reductase (DFR) ด้วย Real-Time quantitative PCR (RT-qPCR) และเปรียบเทียบแวนด้าตัดดอก 2 พันธุ์ คือ สันทรายบลู และขนุนบลู เนื่องจากมีการตอบสนองต่อเอทิลีนจากภายนอกที่แตกต่างกัน ทั้งนี้งานวิจัยนี้ยังได้รับความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญจาก Agricultural Research Organization (ARO), The Volcani Center ประเทศอิสราเอล คือ Dr. Shimon Meir และ Dr. Sonia Philosoph-Hadas ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญแนวหน้าในสาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวไม้ตัดดอก
ผลผลิตจากงานวิจัยนี้จะเป็นบทความวิจัยทางวิชาการระดับนานาชาติ (Quartile 1/2) จำนวน 2 เรื่อง และองค์ความรู้ใหม่ที่ได้ในเชิงลึกในเรื่องใช้บราสิโนสเตอรอยด์ร่วมกับน้ำตาลในการชะลอการเปลี่ยนสีกลีบดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้าพันธุ์สันทรายบลู และขนุนบลูที่ถูกชักนำโดยเอทิลีนจากภายนอก ทั้งนี้ องค์ความรู้ที่ได้ยังสามารถนำมาสานต่ออย่างยั่งยืนในเชิงการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และจัดฝึกอบรมให้แก่บริษัทและผู้ประกอบการส่งกล้วยไม้ออกต่างประเทศ เพื่อให้ดอกกล้วยไม้ไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
คำสำคัญ
- Brassinosteroid
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง