การศึกษาการออกแบบรอยบากสกรูชนิดกัดเกลียวได้ในตัวสำหรับการใช้งานด้านศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ร่วมกับการใช้กระบวนการปรับผิวด้วยการพ่นยิงอนุภาคขนาดเล็กด้วยความเร็วสูงเพื่อลดแรงบิดหมุนในการใส่สกรูและเพิ่มค่าแรงดึงหลุดของสกรู
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 18/05/2021
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 17/05/2022
คำอธิบายโดยย่อ
เมื่อพิจารณาอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพบว่าปัจจุบันประเทศไทยได้นำเข้าแผ่นดามกระดูกและสกรูขันกระดูกหรือชุดวัสดุฝังในจากต่างประเทศมากกว่าร้อยละ 95 หรือกว่า 4 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งแผ่นดามกระดูกและสกรูที่ใช้กันนั้นมีราคาสูงแต่ในขณะเดียวกันผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยติดตั้งแผ่นดามกระดูกเข้าไปยังคงพบปัญหาหลังจากการผ่าตัดติดตั้งต่าง ๆ ทั้งปัญหากับแผ่นดามกระดูก และปัญหากับสกรู โดยสกรูบางประเภทนั้นหากออกแบบไม่ดีอาจทำให้ต้องใช้แรงในการขันสกรูมาก ส่งผลให้เกิดความร้อนที่บริเวณกระดูกซึ่งมีผลต่อการรักษาตัวของเซลล์กระดูกทำให้การรักษานั้นเป็นไปได้ช้า หรือสกรูบางรูปแบบที่มีค่าแรงในการดึงหลุดต่ำนั้นอาจมีปัญหาการหลุดจากกระดูกหลังผ่าตัดส่งผลให้ต้องผ่าตัดซ้ำได้ ในปัจจุบันประเทศไทยนั้นยังขาดองค์ความรู้ในการออกแบบและสร้างสกรูที่ใช้งานด้านศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ที่ได้มาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยกระดูกหัก นอกจากนี้โรงพยาบาลที่มีการใช้แผ่นดามกระดูกและสกรูในการรักษาผู้ป่วยต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ชุดแผ่นดามกระดูกและสกรูที่มีประสิทธิภาพสูงและได้มาตรฐานซึ่งหมายความว่าสกรูนั้นต้องใช้แรงบิดหมุนในการใส่สกรูที่ต่ำ และมีค่าแรงดึงหลุดที่สูงหรือหลุดออกจากกระดูกได้ยาก ซึ่งสามารถทำได้โดยการออกแบบสกรูให้มีความเหมาะสม ร่วมกับการใช้กระบวนการปรับผิวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยสกรูดังกล่าวนั้นจะมีราคาต่ำกว่าอุปกรณ์การแพทย์ที่นำเข้าเนื่องจากสามารถผลิตได้ในประเทศไทย เพื่อให้ผู้ป่วยนั้นสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพได้ทุกคน
คำสำคัญ
- Orthopedic
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง