Prototype of postharvest handling of cut Vanda orchid flowers for export
Principal Investigator
Co-Investigators
Other Team Members
No matching items found.
Project details
Start date: 12/04/2023
End date: 11/04/2024
Abstract
กล้วยไม้จัดเป็นสินค้าไม้ดอกไม้ประดับซึ่งเป็นที่นิยมสูงในตลาดโลกและเป็นสินค้า Product Champion ที่สำคัญของไทย ทั้งนี้ธุรกิจการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ของไทยสามารถสร้างรายได้นำเงินเข้าสู่ประเทศได้เป็นจำนวนมาก และการส่งออกกล้วยไม้ของไทยยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกเมืองร้อนที่มีสัดส่วนสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกมาโดยตลอด กล้วยไม้สกุลแวนด้าเป็นหนึ่งในกล้วยไม้ที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบโดยเฉพาะไม้ตัดดอก และนิยมนำไปใช้ในงานตกแต่งดอกไม้ระดับพรีเมียมเกรด ทำให้ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับกล้วยไม้ตัดดอกชนิดอื่น ๆ ของไทย เกษตรกรจึงหันมาผลิตดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้าเป็นไม้ตัดดอกอย่างจริงจังเพราะมีมูลค่าสูง เช่น ขนุนบลู, ดร. เอนก, พชรบลู, พชร ดีไลท์, เพียวแวกซ์, สันทรายบลู และ โรเบริต์บลู ซึ่งให้ดอกดกอย่างสม่ำเสมอ, ช่อยาว, จำนวนดอกในช่อเยอะ และมีลวดลายที่สวยงามและชัดเจน จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า แวนด้าตัดดอกมีการผลิตเอทิลีนน้อยมาก หรือแทบจะไม่ผลิตเอทิลีนเลยในระหว่างปักแจกัน แต่มีความไวต่อเอทิลีนสูง เนื่องจากการได้รับเอทิลีนจากภายนอกที่ความเข้มข้น 1-10 ppm นาน 24 ชั่วโมง ดอกกล้วยไม้มีการตอบสนองต่อเอทิลีนอย่างชัดเจน คือ เกิดอาการซีดจางของสีกลีบดอกส่งผลให้ปริมาณแอนโทไซยานินในกลีบดอกลดลงอย่างรวดเร็ว, ดอกฟุบ (sleepiness) เหี่ยว เนื่องมาจากสูญเสียน้ำ อาการเหล่านี้ คือ การเสื่อมคุณภาพของดอกและสามารถใช้เป็นตัวกำหนดการสิ้นสุดอายุการปักแจกันดอก ซึ่งพบว่า แวนด้าตัดดอกที่ได้รับเอทิลีนจากภายนอกมีอายุการปักแจกันสั้นลง 50% อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานหลักการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดีสำหรับผลิตแวนด้าตัดดอกเพื่อการส่งออก ดังนั้น การพัฒนาและสร้างต้นแบบสำหรับการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับแวนด้าตัดดอกได้ทุกสายพันธุ์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพ หรือชะลออาการเสื่อมคุณภาพ และยืดอายุการใช้งานของดอกได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารยับยั้งการทำงาน หรือตัวดูดซับเอทิลีน และน้ำยาส่งเสริมคุณภาพดอกกล้วยไม้ที่เหมาะสม จะทำให้ดอกกล้วยไม้มีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวที่ได้มาตรฐาน เพิ่มมูลค่าในการส่งออกดอกกล้วยไม้ไปยังตลาดประมูลดอกไม้ในระดับโลกเพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น และยังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจกล้วยไม้ของไทย เช่น บริษัทส่งออกดอกล้วยไม้ ให้สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน อันจะเป็นการสร้างโอกาสดีในการขยายตลาดส่งออกกล้วยไม้ของไทยไปยังต่างประเทศให้กว้างขวางขึ้น อีกทั้งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาสและรายได้ให้แก่เกษตรผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน
Keywords
- vanda orchid
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.