นวัตกรรมอุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกสันหลังความแข็งแรงสูงเพื่อป้องกันความเสียหายและเพิ่มประสิทธิภาพจากการใช้งานด้วยกระบวนการปรับผิวแบบการยิงอนุภาคละเอียด
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 30/08/2021
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 29/08/2022
คำอธิบายโดยย่อ
ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนมีความพยายามที่จะหาทางเตรียมการกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขระบบรักษาพยาบาล แต่จากข้อมูลสถิติของกรมข้อมูลข่าวสารสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าสาเหตุการตายของประชาชนจากโรคภัยไข้เจ็บกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้ว่าการพัฒนาของประเทศทางด้านเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปมากก็ตาม เนื่องจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร จึงทำให้ต้องมีการนำเข้าวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศซึ่งแต่ละปีในมูลค่าค่อนข้างสูง
จากผลสำรวจของ GBI Research (2016) พบว่า วัสดุฝังในประเภท Orthopedic มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในปี 2559 จะมีมูลค่าตลาดโลกประมาณ 41.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2009 ด้วยอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) เท่ากับร้อยละ 7.8 (Frost & Sullivan’s Analysis, 2014) โดยมีความสอดคล้องกับข่อมูลปริมาณการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทอุปกรณ์รักษากระดูกของประเทศไทยที่มีปริมาณเพิ่มมากสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี ซึ่งหนึ่งในอุปกรณ์ฝังในที่เป็นที่ต้องการและมีการใช้เป็นจำนวนมากคือ Spinal rod หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าเพื่อยึดตรึงกระดูกสันหลัง โดยปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าวมีราคาที่สูงมาก รวมถึงยังสามารถเกิดความเสียหายได้หากได้รับแรงมากจนเกินไป อายุการใช้งานที่สั้น จึงเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับการใช้งานในปัจจุบัน
จากที่ได้กล่าวมา การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการผลิตผลิตภัณฑ์วัสดุการแพทย์เพื่อใช้ในประเทศเองนั้น จะเป็นทางออกที่จำเป็นอย่างยิ่งในการลดมูลค่าการนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากวัสดุการแพทย์ที่นำเข้ามานั้นมีราคาแพงมากเกินที่รัฐจะสามารถให้ประชาชนเบิกใช้ได้จากประกันของรัฐ งานวิจัยนี้ได้ตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรมในการออกแบบ การเลือกวัสดุ และการนำเทคโนโลยีการปรับสภาพผิวแบบ Fine shot peening ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ต้องการอาศัยประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้งาน โดยเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาช่วยเสริมความแข็งแรงของวัสดุ เพื่อแก้ปัญหาด้านความแข็งแรง และอายุการใช้งาน ซึ่งผลงานวิจัยในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นงานวิจัยใหม่ที่เป็นนวัตกรรม ยังสามารถต่อยอดเพื่อการสร้างเป็นรูปแบบอุตสาหกรรมในประเทศเองได้ เพื่อให้ราคาของอุปกรณ์ดามกระดูกสันหลังมีราคาที่ถูกลง ผู้ป่วยทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และสามารถเพิ่มอัตราการจ้างงานได้อีกด้วย
นอกจากนี้ทางผู้วิจัยเห็นว่าการสร้างนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก จึงได้วางแผนในการฝึกการทำงานแบบบูรณาการ การคิดกรอบงานวิจัยที่ต้องผ่านมาตรฐาน คำนึงถึงความเป็นไปได้ในการใช้จริงในเชิงพาณิชย์ เมื่องานวิจัยถูกถ่ายทอดลงไป จึงได้สร้างโครงการวิจัยที่เน้นการทำงานร่วมกันของนักวิจัยรุ่นอาวุโส กับนักวิจัยรุ่นใหม่ นักศึกษาปริญญาเอก ปริญญาโท ตลอดจนผู้ประกอบการ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเน้นการวิจัยเครื่องมือแพทย์ที่มีนวัตกรรม สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานได้ โดยจะนำผลงานที่ได้นั้นส่งเข้าประกวดในเวทีต่างๆและทำการยื่นขอสิทธิบัตร ตลอดจนสร้างผลิคภัณฑ์ต้นแบบจากอุตสาหกรรมผู้ผลิต
คำสำคัญ
- Fine shot peening
- Orthopedic
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง