การติดไฟและการเผาไหม้ก๊าซที่ปลดปล่อยจากขั้นตอนการกระตุ้นถ่านกัมมันต์ที่มีองค์ประกอบที่เผาไหม้ได้อยู่เจือจางโดยใช้ปฏิกรณ์เบดอนุภาคหมุนเวียนแบบหลุม


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2023

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2024


คำอธิบายโดยย่อ

โครงการมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพฤติกรรมการติดไฟและพฤติกรรมการเผาไหม้ของก๊าซที่เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ (Off-gas) จากขั้นตอนการกระตุ้น (Activation) ของกระบวนการผลิตถ่านกัมมันต์จากวัสดุชีวมวลในปฏิกรณ์เบดอนุภาคหมุนเวียนแบบหลุม (Crater bed) ระดับห้องปฏิบัติการ โดยมีบริษัท ซี. ไจแกนติค คาร์บอน จำกัด เป็นผู้ร่วมโครงการ ก๊าซผลิตภัณฑ์พลอยได้เป็นก๊าซผสมที่มีองค์ประกอบของก๊าซที่เผาไหม้ได้อยู่ในสัดส่วนที่ต่ำ (lean mixture) ซึ่งไม่สามารถติดไฟและเผาไหม้ได้ด้วยอุปกรณ์เผาไหม้สามัญ (conventional) ด้วยการหมุนเวียนทางความร้อนที่เป็นคุณลักษณะเด่นของเบดอนุภาคหมุนเวียนแบบหลุม ทำให้ก๊าซที่มีคุณลักษณะดังกล่าวขั้นต้นสามารถติดไฟและเผาไหม้ได้อย่างต่อเนื่อง โครงการมีระเบียบวิธีวิจัยเป็น 2 ขั้นตอนหลักดังนี้ (1) สำรวจและประเมินคุณลักษณะ (อัตราการผลิตและองค์ประกอบ) ของก๊าซผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการกระตุ้นถ่านกัมมันต์ของบริษัท ซี. ไจแกนติค คาร์บอน จำกัด จ.นครราชศรีมา (2) ศึกษาพฤติกรรมการติดไฟและการเผาไหม้ก๊าซที่จำลององค์ประกอบของก๊าซผลิตภัณฑ์พลอยได้ ผลผลิตสำคัญของโครงการคือ (1) ข้อมูลมลสารจากกระบวนการกระตุ้นถ่านกัมมันต์ (2) องค์ความรู้ของพฤติกรรมการเผาไหม้ก๊าซผลิตภัณฑ์พลอยได้ ที่สามารถนำไปเผยแพร่ในรูปแบบบทความทางวิชาการ และ (3) ต้นแบบปฏิกรณ์เตาเผาที่ใช้เทคนิคเบดอนุภาคหมุนเวียนแบบหลุมสำหรับก๊าซเชื้อเพลิงคุณภาพต่ำ ข้อมูลมลสารจากขั้นตอนกระตุ้นถ่านกัมมันต์ทำให้บริษัทฯ กำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ต่อไป


คำสำคัญ

  • Activation process
  • Carbon combustion
  • Crater bed
  • off gas


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-19-06 ถึง 13:21