การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมการแปรรูปสับปะรดโดยกระบวนการไบโอรีไฟเนอรีแบบบูรณาการ
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/06/2021
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 31/05/2022
คำอธิบายโดยย่อ
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตสับปะรดรายใหญ่ในตลาดโลกโดยมีปริมาณการผลิตมากกว่า 2.5 ล้านตันต่อปี และมีอุตสาหกรรมการแปรรูปต่อเนื่องไปในรูปสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด รวมถึงการผลิตเส้นใยสับปะรดซึ่งมีตลาดที่เติบโตอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้มีวัสดุเหลือใช้และของเสียที่เกิดจากขั้นตอนการเก็บเกี่ยวและแปรรูปสับปะรดเป็นปริมาณมากกว่า 1 ล้านตันแต่ละปี ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงไม่ได้รับการนำไปเพิ่มมูลค่าอย่างเหมาะสมทำให้เกิดปัญหาและต้นทุนในการบริหารจัดการซึ่งเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาและขยายโอกาสทางธุรกิจโยภาคเอกชนที่ร่วมโครงการ ทั้งนี้วัสดุเหลือใช้จากสับปะรดเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีศักยภาพในการสกัดเอนไซม์โบรมิเลนซึ่งเป็นเอนไซม์ในกลุ่มโปรตีเอสซึ่งมีการนำไปใช้ที่หลากหลายในอุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการแพทย์ ซึ่งยังคงมีความต้องการทางตลาดที่สูงทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก นอกจากนี้วัสดุเหลือใช้จากสับปะรดยังเป็นอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive compounds) ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านการเกิดออกซิเดชั่น ฤทธิ์การชะลอวัยที่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งเอนไซม์ และฤทธิ์การต่อต้านจุลชีพซึ่งมีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมสุขภาพต่างๆที่มีมูลค่าสูง โครงการวิจัยนี้มีเป้าหมายในการสกัดสารเพิ่มมูลค่าจากส่วนเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเส้นใยสับปะรดในรูปของเศษเนื้อใบ รวมถึงวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมการแปรรูปสับปะรดในรูปแบบต่างๆได้แก่ จุกและเปลือก โดยใช้แนวคิดไบโอรีไฟเนอรีแบบบูรณาการโดยใช้กระบวนการสกัดสารชีวโมเลกุลมูลค่าสูงที่หลากหลายในการดึงมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทีละส่วน โดยประกอบด้วย การสกัดเอนไซม์โบรมีเลนด้วยเทคโนโลยีการบดละเอียดเป็นพิเศษ และเพิ่มความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์เอนไซม์ (โครงการย่อยที่ 1) และ การสกัดและแยกส่วนสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในกลุ่มโพลีฟีนอล-ฟลาโวนอยด์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะโดยตัวทำละลายอินทรีย์เปรียบเทียบกับการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้สภาวะวิกฤตยิ่งยวด (supercritical CO2) ซึ่งเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การขยายขนาดกระบวนการสกัด และเตรียมผลิตภัณฑ์ตัวอย่างในรูปไมโครแคปซูลที่ห่อหุ้มด้วยสารโพลีเมอร์ทางชีวภาพ (โครงการย่อยที่ 2) โดยเป็นการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบกระบวนการและเตรียมต้นแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชน ซึ่งเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบหมุนเวียนในประเทศตามยุทธศาสตร์ BCG Economy และช่วยเพิ่มความสามารถของเอกชนในการแข่งขันในเชิงธุรกิจ และเป็นการผลักดันการเกิดอุตสาหกรรมชีวภาพใหม่ที่เป็นเชื่อมโยงกับการเพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรซึ่งจะส่งผลไปสู่การเพิ่มมูลค่าของภาคเกษตรกรรมตามห่วงโซ่ทางเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง