การพัฒนากระบวนการสกัดพืชสมุนไพรไทยโดยใช้เทคโนโลยีของไหลต่ำกว่าจุดวิกฤตประสิทธิภาพสูงเพื่อยกระดับสารสกัดจากพืชสมุนไพรให้สามารถใช้ในการรักษาและแพทย์ทางเลือก
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2021
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2022
คำอธิบายโดยย่อ
แนวโน้มการใช้สารสกัดจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยาในกลุ่มแพทย์ทางเลือกมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อการพัฒนากระบวนการสกัดให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสมุนไพรไทยพื้นบ้านที่มีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการลดการปนเปื้อนของเชื้อโรค รวมถึงกลุ่มที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่สามารถนำมาเป็นสารสำคัญเพื่อใช้ในอาหารเสริม เครื่องสำอาง กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย และผู้ผลิตตำหรับสมุนไพรการเลือกใช้เทคโนโลยีการสกัดที่ล้าสมัยในการแปรรูปสมุนไพรสด เช่น นำไปทำแห้งหรือตากแดดก่อนการนำไปสกัดเอาสารสำคัญออกจากสมุนไพร ความร้อน ออกซิเจน แสงยูวี จากขั้นตอนการเก็บเกี่ยวและการตากแห้ง ทำให้ได้สารสกัดหรือตัวยาออกฤทธิ์ที่มีคุณภาพต่ำ การผลิตตัวยาไม่ได้มาตรฐานการผลิตอาหารและยาขั้นสูง เช่น GMP+, HACCP, PIC/S ความร้อนหรือปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในกระบวนการผลิตรวมถึงวิธีการสกัดที่ล้าสมัยที่ไม่เหมาะสมทำให้สารออกฤทธิ์ต่าง ๆ เหล่านี้เสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว จากการรายงานของสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร และการวิเคราะห์จุดอ่อนของประเทศไทยในธุรกิจสมุนไพรตามมุมมองของสถาบันวิจัยสมุนไพร พบว่าเทคโนโลยีการผลิตยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวในการส่งออกสารสกัดสมุนไพรต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เนื่องมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีการสกัดที่มีประสิทธิภาพต่ำ ล้าหลัง ไม่ทันสมัยทำให้อัตราการผลิตต่ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลก อีกทั้งปริมาณสารประกอบที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพหรือตัวยาออกฤทธิ์ที่สกัดออกมาได้ไม่สอดคล้องต่อปริมาณวัตถุดิบตั้งต้นที่ใช้
ดังนั้นการพัฒนากระบวนการสกัดพืชสมุนไพรไทยโดยใช้เทคโนโลยีของไหลต่ำกว่าจุดวิกฤตประสิทธิภาพสูงเพื่อยกระดับสารสกัดจากพืชสมุนไพรให้สามารถใช้ในการรักษาและแพทย์ทางเลือก โดยการเลือกใช้เทคโนโลยีสีเขียวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (eco-friendly technology) มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการสกัดพืชสมุนไพร จึงเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนโครงการเดินหน้าส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ รองรับการเป็นศูนย์กลางการแพทย์ของเอเชีย (Medical Hub of Asia) ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและคนไทยมียาสมุนไพรที่มีมาตรฐานและผ่านการศึกษาวิจัยด้านคุณภาพและความปลอดภัย ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงถึงปีละกว่า 130,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพทั้งหมด ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว (กองยาแผนไทยและสมุนไพร) โครงการวิจัยนี้จะทำการศึกษาปริมาณฟีนอลรวม ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ รวมทั้งองค์ประกอบปริมาณสารสำคัญ เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการฆ่าเชื้อ อุตสาหกรรมอาหารเสริม เครื่องสำอาง และยา จากผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ปัจจุบันได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากการระบาดครั้งใหญ่ของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2019 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบปกติใหม่ (New normal) ที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ
- Antimicrobial properties
- Antioxidant properties
- Crude extract
- Herb
- Subcritical Fluid Extraction
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง