การพัฒนาระบบผู้ช่วยเสียงอัจฉริยะสำหรับคน Gen Y ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพบุคคลในยุควิถีใหม่


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

เหตุการณ์โควิด 19 เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวเข้าสู่ยุควิถีใหม่หรือยุคที่ใช้ดิจิทัล มีประชากรใน โลกรวมถึงประเทศไทยไม่สามารถปรับตัวเข้ากับทักษะใหม่ ๆ ได้ทำให้เกิดอัตราการว่างงานจากการเลิกจ้างสูง โดย เฉพาะกลุ่มวัยทำงานหรือ Gen Y ที่มีอัตราความเสี่ยงในการตกงานสูงเพราะการพัฒนาของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์  ดังนั้นการปรับเปลี่ยนของวิถีใหม่คือ การสร้างอาชีพใหม่และการเรียนรู้แบบออนไลน์มากขึ้น อีกทั้งการสร้างนวัตกรรมของบริษัทต่าง ๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ดังจะเห็นได้ว่ามีนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละปีค่อนข้างเร็ว ดังนั้นผู้เรียนจะต้องปรับการเรียนรู้ให้เร็วและสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ด้วยตนเอง


ระบบผู้ช่วยเสียงอัจฉริยะ Voice Intelligent Agent – VIA ปัจจุบันนิยมแพร่หลายใน Siri, Alexa และ Google home ที่มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น อุปกรณ์เปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน การค้นหาข้อมูล การตรวจสอบสภาพอากาศ ซึ่งในอนาคตบทบาทของผู้ช่วยเสียงอัจฉริยะจะมีมากขึ้น เช่น เป็นผู้ช่วยสอน โค้ช เลขาส่วนบุคคล ในการวิจัยนี้จะศึกษาหลักจิตวิทยาที่สามารถนำมาใช้พัฒนาเครื่องมือในการเรียนรู้เพื่อทำให้เกิดนิสัยใหม่ โดยศึกษาว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดการฝึกฝนทักษะ โดยในการทดลองนี้จะมีการใช้ตัวอย่างทักษะการฝึกอ่านหนังสือเพื่อสร้างนิสัยใหม่ ตามคำนิยามการสร้างนิสัยใหม่ คือกระบวนการที่เกิดจากการทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ จนกระทั่งเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ กระบวนการนี้จะใช้เวลานานจนถึงระดับที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Asymptote)   Lally et all(2010) กล่าวว่าการที่จะทำให้เกิดทำงานแบบอัตโนมัติต้องใช้เวลาประมาณ 66 วัน หรือช่วงระหว่าง 18-254 วัน 
ในการทดลองนี้จะมีการใช้ VIA เพื่อช่วยในการติดตามข้อมูล รวมถึงบันทึกพฤติกรรม การสรุปเป้าหมายในแต่ละวัน และการเพิ่มระดับเป้าหมายให้มีความยากขึ้น การทดลองนี้จะทดสอบกับกลุ่ม Gen Y ผลที่ได้จากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อคนทำงานที่จะสามารถฝึกฝนและปรับเทคนิคไปใช้กับการเรียนรู้ประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้จะมีการสร้างต้นแบบ VIA ที่มีโปรแกรมในการพัฒนาทักษะ ผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับคือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภาครัฐในการให้รางวัลแก่ผู้ที่พัฒนาทักษะเพื่อสร้างนวัตกรรม

​​​​​​​


คำสำคัญ

  • การเพิ่มทักษะที่จำเป็นให้แก่กำลังคนระดับสูง; เชื้อเพลิงชีวภาพ; เคมีชีวภาพ; กระบวนการต้นน้ำถึงปลายน้ำ; การขยายขนาดกระบวนการ; การประเมินความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ สังคม และสิ่งแวดล้อม Reskill & Upskill; Biofuel; Biochemical; Upstream-Downstream Processes; Process Scaling-up; Economic Analysis; Social Return on Investment (SROI); Environmental Impact Assessment


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:48