การศึกษาเพปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากกระชายขาว
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2021
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2022
คำอธิบายโดยย่อ
กระชายขาวเป็นสมุนไพรไทยที่นำส่วนเหง้าใต้ดินมาใช้ประกอบอาหารไทยมาเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากกระชายขาวมีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นรสเฉพาะตัว เหมาะกับรสนิยมของผู้บริโภคอาหารไทย นอกจากนี้กระชายขาวยังมีสรรพคุณทางยาด้านการยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อและช่วยให้เจริญอาหาร รวมทั้งรักษาอาการท้องร่วง ท้องเสีย ริดสีดวงทวารและบำรุงหัวใจ ส่วนเหง้าใต้ดินของกระชายขาวประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในกลุ่มฟลาโวนอยด์ชนิดต่างๆ อาทิ panduratins A-I, alpinetin, pinocembrin, cardamonin, boesenbergin A, pinostrobin, rotundaflavone และ isopanduratin A และน้ำมันหอมระเหย อาทิ g-terpinene, geraniol, camphor และ terpineol ดังนั้นการรับประทานกระชายขาวจะเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค
เพปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการย่อยอาหารประเภทโปรตีนในระบบย่อยอาหารของมนุษย์และดูดซึมสู่ร่างกาย ส่งผลต่อระบบร่างกาย ได้แก่ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาท โดยมีรายงานพบว่าเพปไทด์กลุ่มดังกล่าวสามารถแสดงกิจกรรมการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ อาทิ กิจกรรมการยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ กิจกรรมการต้านการแข็งตัวของเลือด ความสามารถในการลดความดันโลหิต และกิจกรรมการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
เพปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพใหม่หลายชนิดที่แสดงกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระและกิจกรรมการลดความดันโลหิตภายหลังจากการย่อยสมุนไพรไทย ได้แก่ เหง้าของขิงและขมิ้นโดยระบบย่อยอาหารจำลองของมนุษย์ด้วยเอนไซม์เพปซินและทริปซิน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาถึงเพปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากกระชายขาวซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคกระชายขาว และยังสามารถพัฒนาอาหารที่มีกระชายขาวเป็นส่วนประกอบหรือเครื่องดื่มน้ำกระชายเป็นอาหารเชิงหน้าที่ เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่กระชายขาวและส่งเสริมให้คนไทยบริโภคกระชายขาวเพิ่มมากขึ้นเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ
คำสำคัญ
- กระชายขาว
- เพปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง