การวิจัยและพัฒนาผนังอาคารใช้แสงธรรมชาติที่มีสมรรถนะพลังงานสูง


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

ถึงแม้ปัจจุบันกิจกรรมในอาคารที่ใช้ไฟฟ้ามีความหลากหลาย  แต่การปรับอากาศและการส่องสว่างในอาคารปรับอากาศในประเทศไทยยังเป็นกิจกรรมหลักที่ใช้ไฟฟ้าถึง 60% และ 20% ประเทศไทยมีรังสีอาทิตย์และแสงธรรมชาติสูงทั่วประเทศ ปัจจัยนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่อาคารใช้พลังงานสูงในการปรับอากาศเพื่อความสบายเชิงอุณหภาพเนื่องจากรังสีอาทิตย์ขับเคลื่อนให้เกิดการถ่ายโอนความร้อนผ่านผนังอาคารเข้าสู่อาคารและสร้างภาระการปรับอากาศ ดังนั้นการใช้อุปกรณ์บังแดดจะช่วยลดผลของรังสีอาทิตย์ได้ ในแง่มุมตรงกันข้ามประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการใช้แสงธรรมชาติเพื่อการส่องสว่างในช่วงกลางวันซึ่งน่าจะลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อส่องสว่างในอาคารได้ดี  แต่ประเทศไทยไม่ใช้ฉนวนกันความร้อนที่ผนังและยังมีปัญหาการประมวลผลดีของการบังแดด การใช้แสงธรรมชาติจากท้องฟ้าผ่านหน้าต่างหรือช่องแสงด้านข้างในประเทศที่อากาศร้อนต้องกันหรือบังรังสีตรงจากดวงอาทิตย์และต้องกันไม่ให้รังสีอินฟราเรดและอัลตราไวโอเล็ตเข้าได้ โดยภาพรวมการใช้ผนังอาคารสมรรถนะพลังงานสูงและการใช้แสงธรรมชาติได้ผลดีแต่มีความซับซ้อนที่ยังต้องแก้ไข

โครงการนี้จะวิจัย พัฒนา ทดสอบ และจัดอบรมวิธีการและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ออกแบบ เพื่อให้ได้ผนังอาคารสมรรถนะพลังงานสูงที่ใช้แสงธรรมชาติจากท้องฟ้าที่ให้แสงร่วมกันกับแสงจากหลอดแอลอีดี ประกอบกับการใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติ  เพื่อให้ได้ระบบผนังของอาคารที่ผนังทึบถ่ายโอนความร้อนน้อย มีค่า OTTVต่ำ และผนังโปร่งใสให้แสงธรรมชาติผ่านเพื่อการส่องสว่าง ซึ่งระบบบังรังสีตรงและสะท้อนเพื่อเพิ่มการส่งผ่านรังสีจากท้องฟ้าเป็นระบบอัจฉริยะ ที่สามารถปรับให้ได้ผลการส่องสว่างที่มีคุณภาพและประสิทธิผลดีโดยอัตโนมัติ และมีความคุ้มค่า เป้าหมายการใช้งานคืออาคารสำนักงาน โรงพยาบาล ร้านสะดวกซื้อ และอาคารอื่นที่มีหน้าต่างและใช้งานกลางวัน



คำสำคัญ

  • การบังรังสีอาทิตย์ สัมประสิทธิ์การบังแดด ค่าการถ่ายโอนความร้อนรวม การใช้แสงธรรมชาติ การใช้แสงธรรมชาติร่วมกับแสงประดิษฐ์ม, Solar shading, solar shading coefficient, overall thermal transfer value, daylighting, integrated daylighting and artificial lighting


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:48