Onboarding program to nurture high potential researchers for accelerating bioeconomy industries


Principal Investigator


Co-Investigators

No matching items found.


Other Team Members


Project details

Start date01/08/2021

End date31/07/2023


Abstract

บทสรุปผู้บริหาร 

ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องสร้างความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาให้กับภาคการผลิตและอุตสาหกรรมเพื่อเป็นกลไกหลักสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐศาสตร์และทางสังคมของคนในประเทศซึ่งในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) นับว่าเป็นทิศทางหลักในการพัฒนาด้านวิจัยและนวัตกรรมของหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งได้บรรจุเรื่องเศรษฐกิจฐานชีวภาพอยู่ในแผนปฏิรูปประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นการวางนโยบายสนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศผ่านกลไกการผลักดันและพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการต่าง ๆ 10 กลุ่มเป้าหมาย (S-curve) ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจฐานชีวภาพ อาทิ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อาหารเพื่ออนาคต และ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เป็นต้น

แม้ว่าประเทศไทยจะมีความได้เปรียบเนื่องจากมีฐานการผลิตหลักด้านเกษตรและอาหารรวมทั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงแต่อย่างไรก็ตามประเทศยังประสบปัญหาขาดแคลนด้านกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีทักษะวิจัยยังคงมีจำนวนไม่เพียงพอถึงมวลวิกฤติ (Critical mass) หรือปริมาณที่มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดการขับเคลื่อนประเทศไปได้อีกทั้งความสามารถด้านวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนโดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดเล็กรวมทั้งการลงทุนด้านวิจัยและนวัตกรรมยังไม่เพียงพอที่จะช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานวิจัยของประเทศให้บรรลุตามเป้าหมายของแผนปฏิรูปประเทศได้

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเมื่อพิจารณากลไกในมหาวิทยาลัยที่ช่วยสนับสนุนด้านการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อตอบการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ พบว่าสถาบันอุดมศึกษายังไม่มีกลไกที่ชัดเจน ในการพัฒนากำลังคนด้านวิจัยที่มีความเข้าใจในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ของภาคอุตสาหกรรมโดยตรง โจทย์งานวิจัยโดยส่วนมากถูกกำหนดให้มุ่งเน้นการตอบปัญหาวิจัยเชิงลึกเพื่อสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาดังกล่าว โดยมีการพัฒนาทักษะวิจัยผ่านการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการเป็นหลัก ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจึงเป็นการสะสมองค์ความรู้พื้นฐาน และความรู้เชิงลึก ภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อม (Condition) หรือปัจจัย (Parameter) ที่สามารถควบคุมได้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศเท่านั้น ยังมีช่องว่างของการนำผลผลิตหรือผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นไปใช้ประโยชน์ในภาคการผลิตจริง เนื่องจากต้องผ่านการปรับให้ตรงกับเงื่อนไขและข้อจำกัดของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องพิจารณาความคุ้มค่าในเชิงธุรกิจ ความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เงื่อนไขและข้อกำหนดทางกฎหมายในการผลิตหรือการดำเนินงานจริง การหาแหล่งวัตถุดิบตั้งต้นที่เหมาะสม เพียงพอต่อกำลังการผลิตที่ต้องและมีความคุ้มทุน สามารถควบคุมต้นทุนได้ การขยายขนาด(Scale-up) ของกระบวนการผลิต เป็นต้น 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มีพันธกิจหลักในการพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพให้กับประเทศ การทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งานจริง ซึ่ง มจธ. มีนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาบัณฑิตให้ตอบโจทย์ของผู้ใช้งานจริง มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาผ่านประสบการณ์จริง รวมทั้งได้ริเริ่มการพัฒนาโครงการทักษะวิศวกรรม (Practice School) เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาบัณฑิตศึกษาที่มีทักษะการแก้ปัญหาและการทำวิจัยในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่ผลิตได้ให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจากประสบการณ์ดังกล่าว มีการขยายผลผ่านกลไกต้นแบบลงไปสู่การพัฒนาบัณฑิตในระดับปริญญาตรี ซึ่งหนึ่งในปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จ (Key success) คือ การร่วมกำหนดโจทย์วิจัยระหว่างผู้รับชอบจากภาคอุตสาหกรรม และอาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีทั้งคุณค่าในเชิงวิชาการ และเป็นโจทย์ที่มีผลกระทบสูงต่อภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีกลไกการดูแลและติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดโดยการมีอาจารย์ประจำสถานฝึกทักษะ คอยเป็นผู้บริหารจัดการโครงการในภาพรวม ดูแลนักศึกษา เชื่อมโยงและสื่อสารกับผู้รับผิดชอบตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงผู้บริหารของภาคอุตสาหกรรม ตลอดทั้งระยะเวลาการดำเนินโครงการวิจัย นับว่าเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนานักศึกษาผ่านการฝึกประสบการณ์ทำงานและการแก้ปัญหาจริง และเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดผลกระทบสูง และเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้จากภาคการศึกษาไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งกลไกดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน และครอบคลุมในสาขาด้านวิศวกรรมเคมี วิศวกรรมอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ และพลังงาน 

จากประสบการณ์การสร้างระบบพัฒนาบัณฑิตร่วมกับภาคอุตสาหกรรม และการสนับสนุนการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในทุกมิติ มจธ. โดยสำนักงานวิจัย นวัตกรรมและพันธมิตร (สวนพ.) มุ่งเน้นการขยายขนาดกลไกการพัฒนากำลังคนด้านวิจัยร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและอุตสาหกรรมเป้าหมาย จากกลไกเดิมที่เน้นการผลิตบัณฑิตคุณภาพ ไปสู่การพัฒนานักวิจัยในระดับหลังปริญญาเอกและนักวิจัยในระดับหลังปริญญาโทให้มีทักษะและความสามารถในการทำวิจัยในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ดังเช่น อุตสาหกรรมเศรษฐกิจฐานชีวภาพ รวมทั้งการเพิ่ม ด้วยการโครงการนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบพัฒนานักวิจัยในระดับหลังปริญญาเอกและนักวิจัยในระดับหลังปริญญาโทที่มีทักษะและความสามารถในภาคอุตสาหกรรมเศรษฐกิจฐานชีวภาพให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ภายใต้การบริหารจัดการและดำเนินงานของ สวนพ. ร่วมกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของ มจธ. และการทำงานร่วมกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้งกระบวนการบ่มเพาะนักวิจัยตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการตั้งโจทย์ การพิจารณาคัดเลือกนักวิจัย จนกระทั่งการนำเสนอปิดโครงการ การดำเนินงานประกอบด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการด้านทักษะและความสามารถด้านวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมเศรษฐกิจฐานชีวภาพของประเทศไทย และออกแบบกลไกสนับสนุนเพื่อเพิ่มพูนทักษะนักวิจัยในระดับหลังปริญญาเอกและนักวิจัยในระดับหลังปริญญาโทให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์งานวิจัยในภาคอุตสาหกรรม และนำไปสู่การออกแบบหน่วยการเรียนรู้เพื่อรองรับการพัฒนาความสามารถด้านวิจัยของกำลังคนในอุตสาหกรรมเศรษฐกิจฐานชีวภาพต่อไป


Keywords

  • Bioeconomy
  • Manpower development
  • Post-doctoral
  • Post-master


Strategic Research Themes


Publications

No matching items found.


Last updated on 2025-14-01 at 09:49