การศึกษาผลกระทบของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่เสื่อมสภาพเนื่องจาก Potential Induced Degradation (PID) สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2021
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2022
คำอธิบายโดยย่อ
จากปริมาณการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์รวมของโลก ณ ปี ค.ศ. 2019 มีขนาด 627 GW (IEA-PVPS, 2020) ซึ่งหากเปรียบเทียบกับปริมาณสะสมเมื่อปี ค.ศ.2009 (10 ปีที่ผ่านมา) เพิ่มขึ้นจาก 20.6 MW ถึง 45 เท่า (IEA-PVPS, 2010) สำหรับประเทศไทยก็เช่นกัน กระทรวงพลังงานได้มีแนวนโยบายด้านพลังงานของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable) ได้พิจารณาทบทวนและปรับปรุงแผน PDP2018 โดยการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2561 – 2580 (the Thailand Power Development Plan: PDP 2018) และ the Alternative Energy Development Plan (AEDP2015) ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ว่า ปี พ.ศ.2580 จะมีการติดตั้งใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทยจำนวน 10 GW โดยเมื่อปลาย ปี พ.ศ.2562 ประเทศไทยมีกำลังการผลิตติดตั้งของระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ประมาณ 3 GW (DEDE, 2019) เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ จะพบว่าปริมาณการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังตารางที่ 1 กำลังการผลิตสะสมและกำลังการผลิตรายปีของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ปี พ.ศ. 2551 – 2561
ตารางที่ 1 กำลังการผลิตสะสมและกำลังการผลิตรายปีของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ปี พ.ศ. 2551 – 2561
ปี พ.ศ. | กำลังการผลิตสะสม (เมกะวัตต์สูงสุด) | กำลังการผลิต รายปี (เมกะวัตต์สูงสุด ) | |||
เชื่อมต่อ ระบบจำหน่าย | ไม่เชื่อมต่อระบบ | รวมทั้งหมด | |||
พพ. | หน่วยงานอื่น¹ | ||||
2551 | 4.06 | 3.20 | 26.13 | 33.39 | 0.89 |
2552 | 13.67 | 3.36 | 26.13 | 43.17 | 9.77 |
2553 | 19.57 | 3.52 | 26.13 | 49.22 | 6.05 |
2554 | 212.80 | 3.91 | 25.97 | 242.68 | 193.46 |
2555 | 357.38 | 4.06 | 26.13 | 387.57 | 144.89 |
2556 | 794.07 | 4.27 | 25.46 | 823.80 | 436.23 |
2557 | 1669.36 | 4.59 | 24.56 | 1298.51 | 474.71 |
2558 | 1389.55 | 4.87 | 25.16 | 1419.58 | 121.07 |
2559 | 2441.142 | 4.98 | 28.82 | 2446.12 | 1026.54 |
2560 | 2692.212 | 5.05 | 29.09 | 1697.26 | 251.14 |
2561 | 2958.362 | 4.08 | 26.06 | 2962.44 | 265.18 |
ที่มา Thailand PV Status Report 2018
หมายเหตุ : ¹ การลด-เพิ่มของกำลังการผลิตมาจากการรื้อถอนระบบและการติดตั้งเพิ่ม
² กำลังการผลิตมาจากรวมทั้งหมดหักไม่เชื่อมต่อระบบฯ ของ พพ. เท่านั้น
จากการใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นนั้น โรงไฟฟ้าที่มีอายุมากกว่า 5 ปี เริ่มประสบปัญหาการเสื่อมสภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อสมรรถนะของโรงไฟฟ้า โดยพบว่าตัวอย่างของการเสื่อมสภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่พบได้แก่ Potential Induced degradation (PID), browning or discolor of EVA, delamination and corrosion (Sangpongsanont et al., 2020) ดังนั้น การศึกษาการเสื่อมสภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบและสาเหตุการเกิด จะมีส่วนให้ประเมินอายุการใช้งานตลอดจนสมรรถนะของโรงไฟฟ้าในอนาคต
โดยหัวข้อการเสื่อมสภาพที่มีผลกระทบต่อสมรรถนะของระบบไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ Potential Induced degradation (PID) ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อสมรรถนะทางไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่ กำลังไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Power) ความต้านทาน Shunt resistant และ Fill Factor ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุอาทิ กระแสรั่วไหลจาก Frame ไปยัง Solar cells, แรงดันไฟฟ้าของระบบที่มีค่าสูงมากๆจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดกระแสรั่วไหลมากขึ้นโดยเฉพาะที่สภาวะอุณหภูมิและความชื้นสูง เมื่ออุณหภูมิและความชื้นสูงขึ้นก็จะทำให้เกิดกระแสรั่วไหลมากขึ้น เนื่องจากความต้านทานทางไฟฟ้าของวัสดุประกอบแผง (กระจก, EVA และ back-sheet) มีค่าลดลง
คำสำคัญ
- Photovoltaic systems
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง