Potential Induced Degradation (PID) PV modules impact on reliability of PV plants in Thailand


Principal Investigator


Co-Investigators


Other Team Members


Project details

Start date01/10/2021

End date30/09/2022


Abstract

จากปริมาณการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์รวมของโลก ณ ปี ค.ศ. 2019 มีขนาด 627 GW (IEA-PVPS, 2020) ซึ่งหากเปรียบเทียบกับปริมาณสะสมเมื่อปี ค.ศ.2009 (10 ปีที่ผ่านมา) เพิ่มขึ้นจาก 20.6 MW ถึง 45 เท่า (IEA-PVPS, 2010) สำหรับประเทศไทยก็เช่นกัน กระทรวงพลังงานได้มีแนวนโยบายด้านพลังงานของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable) ได้พิจารณาทบทวนและปรับปรุงแผน PDP2018 โดยการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2561 – 2580 (the Thailand Power Development Plan: PDP 2018) และ the Alternative Energy Development Plan (AEDP2015) ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ว่า ปี พ.ศ.2580 จะมีการติดตั้งใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทยจำนวน 10 GW โดยเมื่อปลาย ปี พ.ศ.2562 ประเทศไทยมีกำลังการผลิตติดตั้งของระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ประมาณ 3 GW (DEDE, 2019) เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ จะพบว่าปริมาณการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังตารางที่ 1 กำลังการผลิตสะสมและกำลังการผลิตรายปีของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ปี พ.ศ. 2551 – 2561

ตารางที่ 1  กำลังการผลิตสะสมและกำลังการผลิตรายปีของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ปี พ.ศ. 2551 – 2561

ปี พ.ศ.

กำลังการผลิตสะสม (เมกะวัตต์สูงสุด)

กำลังการผลิต

รายปี

(เมกะวัตต์สูงสุด )

เชื่อมต่อ      ระบบจำหน่าย

ไม่เชื่อมต่อระบบ

รวมทั้งหมด

พพ.

หน่วยงานอื่น¹

2551

4.06

3.20

26.13

33.39

0.89

2552

13.67

3.36

26.13

43.17

9.77

2553

19.57

3.52

26.13

49.22

6.05

2554

212.80

3.91

25.97

242.68

193.46

2555

357.38

4.06

26.13

387.57

144.89

2556

794.07

4.27

25.46

823.80

436.23

2557

1669.36

4.59

24.56

1298.51

474.71

2558

1389.55

4.87

25.16

1419.58

121.07

2559

2441.142

4.98

28.82

2446.12

1026.54

2560

2692.212

5.05

29.09

1697.26

251.14

2561

2958.362

4.08

26.06

2962.44

265.18


ที่มา Thailand PV Status Report 2018

หมายเหตุ :   ¹ การลด-เพิ่มของกำลังการผลิตมาจากการรื้อถอนระบบและการติดตั้งเพิ่ม

² กำลังการผลิตมาจากรวมทั้งหมดหักไม่เชื่อมต่อระบบฯ ของ พพ. เท่านั้น

จากการใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นนั้น โรงไฟฟ้าที่มีอายุมากกว่า 5 ปี เริ่มประสบปัญหาการเสื่อมสภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อสมรรถนะของโรงไฟฟ้า โดยพบว่าตัวอย่างของการเสื่อมสภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่พบได้แก่ Potential Induced degradation (PID), browning or discolor of EVA, delamination and corrosion (Sangpongsanont et al., 2020) ดังนั้น การศึกษาการเสื่อมสภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบและสาเหตุการเกิด จะมีส่วนให้ประเมินอายุการใช้งานตลอดจนสมรรถนะของโรงไฟฟ้าในอนาคต

โดยหัวข้อการเสื่อมสภาพที่มีผลกระทบต่อสมรรถนะของระบบไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ Potential Induced degradation (PID) ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อสมรรถนะทางไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่ กำลังไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Power) ความต้านทาน Shunt resistant และ Fill Factor ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุอาทิ กระแสรั่วไหลจาก Frame ไปยัง Solar cells, แรงดันไฟฟ้าของระบบที่มีค่าสูงมากๆจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดกระแสรั่วไหลมากขึ้นโดยเฉพาะที่สภาวะอุณหภูมิและความชื้นสูง เมื่ออุณหภูมิและความชื้นสูงขึ้นก็จะทำให้เกิดกระแสรั่วไหลมากขึ้น เนื่องจากความต้านทานทางไฟฟ้าของวัสดุประกอบแผง (กระจก, EVA และ back-sheet) มีค่าลดลง


Keywords

  • Photovoltaic systems


Strategic Research Themes


Publications

No matching items found.


Last updated on 2025-13-01 at 15:10