การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 15/08/2020
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 14/08/2021
คำอธิบายโดยย่อ
สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (การรถไฟแหงประเทศไทย, 2561)โดยสืบเนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมบริเวณแหลมอินโดจีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมือง
"สถานีรถไฟกรุงเทพ" หรือ "หัวลำโพง" เริ่มก่อสร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 คือในปี พ.ศ. 2453 การก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ทรงทำพิธีกดปุ่มสัญญาณไฟฟ้าให้รถไฟขบวนแรกเดินเข้าสู่สถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2459
สำหรับที่ตั้งของสถานีหัวลำโพงเดิมซึ่งอยู่บริเวณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธี เริ่มการก่อสร้างและเปิดเดินรถไฟหลวงนั้น หลังจากได้ก่อสร้างสถานีกรุงเทพหลังปัจจุบันแล้วจึงได้รื้อถอนออกไป ต่อมาผู้ปฏิบัติงานรถไฟได้ร่วมกันสละทรัพย์สร้างเป็นอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง เมื่อ พ.ศ. 2533 เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอนุสรณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์แก่อนุชนรุ่นหลัง
สถานีรถไฟกรุงเทพมีแบบก่อสร้างเป็นหลังคาทรงโค้ง (vault) สไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองมีลักษณะคล้ายกับ สถานีรถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ออกแบบโดย มิสเตอร์ มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ซึ่งเข้ามารับราชการอยู่ที่กระทรวงโยธาธิการ ในราชสำนักสยามลวดลายต่างๆ ที่ประดับไว้เป็นศิลปะที่มีความวิจิตรสวยงาม
ในปัจจุบัน“สถานีรถไฟกรุงเทพ" หรือหัวลำโพงเป็นสถานีเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมีอายุจนถึงปัจจุบันรวม104 ปี เป็นศูนย์กลางการขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟ ในแต่ละวันจะมีขบวนรถเข้า-ออก ทั้งหมด 5 สาย หรือประมาณ 200 ขบวน รวมทั้งมีส่วนต่อเติมสถานีรถไฟใต้ดินหัวลำโพงที่เชื่อมกับอาคารเดิมทางด้านข้างสถานีรถไฟหัวลำโพงซึ่งมีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินให้บริการอยู่ภายในชั้นใต้ดินของสถานีรถไฟ อย่างไรก็ตามในอนาคตอันใกล้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายหลังจากย้ายศูนย์กลางทางรถไฟ ไปอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อมีแผนจะย้ายการให้บริการเส้นทางรถไฟเกือบทั้งหมดไปอยู่ที่สถานีรถไฟบางซื่อ ประกอบกับจะมีโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ผ่านเข้ามาในพื้นที่ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญในอนาคต ในขณะที่การพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะส่งผลอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ เพราะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนกิจกรรมของตัวเมืองชั้นใน ซึ่งผลการศึกษาโครงการในระยะที่ 1 ได้แสดงถึงความต้องการทางสังคม (Public Concern) ที่มองอนาคตของพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ ในฐานะใช้ประโยชน์ทางสังคมที่สามารถมีพึ่งพาตนเองได้ทางเศรษฐกิจ เช่น พิพิธภัณฑ์ พื้นที่เรียนรู้ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ หรือจุดศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative Cultural Hub) และมีพื้นที่สาธารณะ สอดคล้องกับที่ นายวรวุฒิ มาลา ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้กล่าวถึงแผนลงทุนพัฒนาพื้นที่สถานีหัวลำโพงจำนวน 121 ไร่ ซึ่งอาจทำเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟโดยการนำทรัพยากรทางวัฒนธรรมกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์และวางโครงการพื้นที่เชิงอนุรักษ์ในเส้นทางเลียบทางรถไฟ ในลักษณะการสร้างพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นและพื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มีการบูรณาการร่วมกับพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นในเขตเมืองเก่า ดังนั้นหากพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องเหมาะสม จะส่งผลให้กรุงเทพและประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ อีกทั้งสามารถเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ (Urban Economic) ให้กับประเทศได้อีกด้วย
แผนงานวิจัยนี้จะทำหน้าที่บูรณาการกับโครงการย่อยอีกสองโครงการเพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์ผลการวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย อีกทั้งจะเป็นหลักในการดำเนินการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างการรับรู้โครงการวิจัยสู่สังคม และรวมถึงการประเมินผลกระทบทางสังคมเบื้องต้น ซึ่งคาดว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยในฐานะผู้เกี่ยวข้องหลักจะสามารถนำผลวิจัยเสมือนแผนหรือกรอบการพัฒนาไปใช้ประโยชน์ ทั้งในด้านการดำเนินงานปรับปรุงพื้นที่เพื่อสร้างผลการต่อยอดทางเศรษฐกิจ และเป็นประโยชน์แก่สังคมวงกว้างต่อไปได้
คำสำคัญ
- Architectural Design (การออกแบบสถาปัตยกรรม)
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง