A Study for Conceptual Plan and Design Guideline and Architectural Conservation of Hua Lamphong Area
Principal Investigator
Co-Investigators
No matching items found.
Other Team Members
No matching items found.
Project details
Start date: 15/08/2020
End date: 14/08/2021
Abstract
"สถานีรถไฟกรุงเทพ" หรือ "หัวลำโพง" เริ่มก่อสร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 คือในปี พ.ศ. 2453 การก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ทรงทำพิธีกดปุ่มสัญญาณไฟฟ้าให้รถไฟขบวนแรกเดินเข้าสู่สถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2459
อย่างไรก็ตามในอนาคตอันใกล้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายหลังจากย้ายศูนย์กลางทางรถไฟ ไปอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อมีแผนจะย้ายการให้บริการเส้นทางรถไฟเกือบทั้งหมดไปอยู่ที่สถานีรถไฟบางซื่อ ประกอบกับจะมีโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ผ่านเข้ามาในพื้นที่ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญในอนาคต ในขณะที่การพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะส่งผลอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ เพราะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนกิจกรรมของตัวเมืองชั้นใน ซึ่งผลการศึกษาโครงการในระยะที่ 1 ได้แสดงถึงความต้องการทางสังคม (Public Concern) ที่มองอนาคตของพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ ในฐานะใช้ประโยชน์ทางสังคม เช่น พิพิธภัณฑ์ พื้นที่เรียนรู้ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ หรือจุดศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative Cultural Hub) และมีพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงส่งเสริมสร้างพื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้ และส่งผลให้กรุงเทพและประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งท่องเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ที่สามารถช่วยยกระดับเศรษฐกิจผ่านแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้กับประเทศได้
คณะผู้วิจัยได้เห็นถึงความสอดคล้องของโครงการต่อการพัฒนา การปรับปรุงย่านพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ให้เป็นอีกพื้นที่/ย่านที่เอื้อประโยชน์แก่คนเมืองและชุมชนที่อาศัยและกลุ่มคนที่ทำงานรอบๆ และในละแวกใกล้เคียง จึงเล็งเห็นความสำคัญของและวางเป้าหมายในการพัฒนาเมือง การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและพื้นที่สถานีรถไฟแห่งนี้ ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมีความสอดคล้องดังนี้ (1) เป็นการพัฒนาพื้นที่ที่ให้ความสำคัญในหลากหลายมิติ ตั้งแต่มิติ การอนุรักษ์ การพัฒนาเมือง การพัฒนาสภาพแวดล้อม เพื่อให้เป็นต้นแบบในการพัฒนาเมืองร่วมสมัย (2) เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการนันทนาการ พื้นที่ท่องเที่ยว พื้นที่ทางสังคม พื้นที่การเรียนรู้ และพื้นที่สร้างสรรค์/สร้างงานสำหรับคนเมือง
ซึ่งโครงการศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการวางแนวคิดในการจัดทำแผนแม่บทในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งโครงการนี้เป็น 1 ใน 3 โครงการย่อย ได้แก่
(1) การศึกษาเพื่ออนุรักษ์-พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ
(2) การศึกษาระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยงพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อรองรับการอนุรักษ์-พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
(3) การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการด้านการลงทุนและความเป็นไปได้ทางการเงินเพื่อรองรับการอนุรักษ์-พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ
โดยแผนงานงานวิจัยทำหน้าที่กำหนดแนวทางการวิจัยการบูรณาการโครงการย่อยเพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์ผลการวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยอีกทั้งจะเป็นหลักในการดำเนินการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างการรับรู้โครงการวิจัยสู่สังคมและรวมถึงการประเมินผลกระทบทางสังคมเบื้องต้น ผ่านการนำไปเผยแพร่เชิญชวนประกวดแบบ หรือการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อสังคม ซึ่งคาดว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยในฐานะผู้เกี่ยวข้องหลักจะสามารถนำผลวิจัยเสมือนแผนหรือกรอบการพัฒนาไปใช้ประโยชน์ ทั้งในด้านการดำเนินงานปรับปรุงพื้นที่เพื่อสร้างผลการต่อยอดทางเศรษฐกิจและแก่สังคมวงกว้างต่อไป
Keywords
- Architectural Design (การออกแบบสถาปัตยกรรม)
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.