การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับการทำงานโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการจัดการด้วยเหมืองความรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังและสอดคล้องกับความต้องการสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2021
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2023
คำอธิบายโดยย่อ
- บทสรุปผู้บริหาร
1.1 ความเป็นมาของปัญหา
อุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตของไทยจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโฉมที่สำคัญ ได้แก่ ระบบการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ระบบการผลิตอัตโนมัติ (Production Automation System) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digitalization) สถานประกอบการด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จำเป็นต้องมีการเตรียมมาตรการเปลี่ยนผ่านสำหรับในด้านการผลิต ในชิ้นส่วนที่ใช้ร่วมกัน เช่น ตัวถัง เบรก อุปกรณ์ภายใน เบาะ อุปกรณ์ตกแต่ง เป็นต้น ต้องมีข้อมูลจำเพาะ (Specification) มีการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักที่เบา ดังนั้นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต้องมีการปรับตัวสำหรับกระบวนการผลิตที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง และมีการผลิตชิ้นส่วนใหม่ๆ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตนำเทคโนโลยีระดับสูง (Advanced Technology) ที่เกี่ยวกับระบบโรบอตติกส์ (Robotics) และระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้กับเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) รวมถึงต้องมีการเตรียมแรงงานที่มีสมรรถนะมาปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมรถยนต์สมัยใหม่สำหรับสถานประกอบการในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ความสามารถในการแข่งขันและจำนวนของแรงงานมีฝีมือ มีความสำคัญในการที่เป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต พบว่าแรงงานมีมือ ช่างฝีมือ นักวิจัยจะต้องมีความรู้หลายศาสตร์ เช่น ระบบการกักเก็บพลังงาน ระบบการผลิตอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นต้น เนื่องจากชิ้นส่วนของรถยนต์มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกัน ดังนั้นการเตรียมบุคลากรให้มีความสอดคล้องกับสมรรถนะที่ภาคอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การเรียนการสอนระบบการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับการทำงาน (Work Integrated Learning) เป็นการจัดการศึกษาที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ การจัดการเรียนรู้ระบบการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับการทำงาน มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ กลไกลที่ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนแบบระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการร่วมกับการทำงานสำเร็จ จะต้องได้ความร่วมมือจากสถานศึกษา และสถานประกอบการ โดยมีแนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเนื่องจากการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานจะเป็นการผสมผสานระหว่างการสอนแบบเผชิญหน้ากับการสอนออนไลน์ และการสอนในสถานที่จริงคือสถานประกอบการร่วมกันทั้ง 3 ส่วน ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในระบบ WiL จะใช้กลไกการจัดการโดยเหมืองความรู้ (Knowledge Mining) ซึ่งจะมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการร่วมกับการทำงาน ประกอบไปด้วย บุคลากรในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการเหมืองความรู้ (Knowledge Mining Director) และอาจารย์เกื้อหนุน (Facilitator) สำหรับสถานประกอบการ ได้แก่ พนักงานพี่เลี้ยง (Industrial Mentor) โดยบุคลากรในระบบ WiL จะต้องมีการให้ปรับบทบาทให้เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้นหนุนเสริมโดยเน้นให้ผู้เรียนมีวิธีหาความรู้ และพัฒนาตนเองให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง รูปแบบการจัดการเรียนแบบบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนกำหนดให้ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะที่มีความสอดคล้องกับความต้องการภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต
ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นในการศึกษาสมรรถนะของผู้เรียนแบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงานที่ภาคอุตสาหกรรมคาดหวัง การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงานโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการจัดการด้วยเหมืองความรู้ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงาน และการทดลองใช้ระบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงาน โดยผลลัพธ์ที่ได้ในโครงการวิจัยนี้จะทำให้ได้ระบบในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการเพื่อพัฒนาบัณฑิตที่มีสมรรถนะสอดคล้องตรงกับความต้องการกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์
1)
2)
3)
4)
1.3 ระเบียบวิธีวิจัย
ระยะที่ 1 ศึกษาสมรรถนะของผู้เรียนแบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงานที่ภาคอุตสาหกรรมคาดหวัง ดำเนินการวิจัยโดยการประชุมเพื่อสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อหาความต้องการของสมรรถนะที่สถานประกอบคาดหวัง และช่องว่างระหว่างสภาพปัจจุบันของผู้เกี่ยวข้องและความคาดหวังของหลักสูตร เพื่อนำมาพัฒนาออกแบบรายละเอียดโมดูล วิธีการจัดการเรียนรู้ แนวทางการวัดประเมินผล รวมถึงการออกแบบระบบการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
ระยะที่ 2 การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงานโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการจัดการด้วยเหมืองความรู้ โดยการพัฒนาแผนการเรียนรู้ในแต่ละโมดูล หลักสูตรเฉพาะทาง สำหรับหลักโมดูล และหลักสูตรเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต เช่น โมดูลระบบการผลิตอัตโนมัติอุตสาหกรรม โมดูลปัญญาประดิษฐ์สำหรับการผลิตอุตสาหกรรม โมดูลเทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรม หลักสูตรระบบโรบอติกส์ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ หลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนสำหรับยานยนต์ในอนาคต หลักสูตรระบบการกักเก็บพลังงานสำหรับยานยนต์ในอนาคต เป็นต้น
ระยะที่ 3 การเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงานโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการจัดการด้วยเหมืองความรู้ โดยดำเนินการดังนี้
3.1 การพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงาน สำหรับการเรียนในชั้นเรียนและสถานประกอบการ และการเรียนในสถานประกอบการ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ได้แก่ 1. ทฤษฎี แนวคิดและสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 2. รายละเอียดของโมดูและหลักสูตรเฉพาะทาง 3. แผนการจัดการเรียนรู้ 4. การดำเนินการจัดการเรียนรู้ 5. วิธีการจัดการเรียนรู้ และ 6. การประเมินผลการจัดการเรียนรู้
3.2 การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้ในสถานประกอบการ โดยใช้วงจรพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle, SDLC) มาพัฒนาองค์ประกอบของระบบการจัดการเรียนรู้
ระยะที่ 4 ทดลองใช้ระบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงานโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการจัดการด้วยเหมืองความรู้ กับกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ชั้นปีที่ 4 จำนวน 20 คน ในสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการระยะเวลา 1 ปีการศึกษา
1.4 ผลการวิจัย
1) รายละเอียดและแนวคิดการจัดการเรียนรู้ระบบ WiLทั้งในและต่างประเทศ
2) ข้อมูลสถานะการณ์ปัจจุบันและภาพอนาคตของผู้ประกอบการและสถานศึกษา
3) ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษาและในสถานประกอบการ
4) ความต้องการของสมรรถนะที่สถานประกอบการประกอบคาดหวัง
5) รายละเอียดของโมดูล
6) รายละเอียดหลักสูตร
7) แผนการจัดการเรียนรู้ของโมดูล
8) แผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตรเฉพาะทาง
9) สื่อการเรียนแบบออนไลน์ของโมดูลและหลักสูตรเฉพาะทาง
10) เครื่องมือประเมินผลสมรรถนะ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
11) ระบบการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงาน
12) ระบบการการจัดการ WiL โดยใช้วงจรพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle)
13) นักศึกษามีสมรรถนะที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ
14) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
15) คู่มือการจัดการเรียนรู้ระบบ WiL
1.6 การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1) สถานศึกษาและสถานประกอบการมีระบบในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะสอดคล้องตรงกับความต้องการกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศต่อไป
2) สถานศึกษาและสถานประกอบการมีเครือข่ายและข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องร่วมกันในภาพองค์รวม
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง