Developing a Work-Integrated Learning Management System based on the Blended Learning Management and Knowledge Mining Management Concepts to Develop Competent Learners Based on Expected Learning Outcomes and in Line with Future Automotive Industry Needs
Principal Investigator
Co-Investigators
No matching items found.
Other Team Members
Project details
Start date: 01/10/2021
End date: 30/09/2023
Abstract
- บทสรุปผู้บริหาร
1.1 ความเป็นมาของปัญหา
อุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตของไทยจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโฉมที่สำคัญ ได้แก่ ระบบการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ระบบการผลิตอัตโนมัติ (Production Automation System) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digitalization) สถานประกอบการด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จำเป็นต้องมีการเตรียมมาตรการเปลี่ยนผ่านสำหรับในด้านการผลิต ในชิ้นส่วนที่ใช้ร่วมกัน เช่น ตัวถัง เบรก อุปกรณ์ภายใน เบาะ อุปกรณ์ตกแต่ง เป็นต้น ต้องมีข้อมูลจำเพาะ (Specification) มีการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักที่เบา ดังนั้นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต้องมีการปรับตัวสำหรับกระบวนการผลิตที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง และมีการผลิตชิ้นส่วนใหม่ๆ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตนำเทคโนโลยีระดับสูง (Advanced Technology) ที่เกี่ยวกับระบบโรบอตติกส์ (Robotics) และระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้กับเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) รวมถึงต้องมีการเตรียมแรงงานที่มีสมรรถนะมาปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมรถยนต์สมัยใหม่สำหรับสถานประกอบการในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ความสามารถในการแข่งขันและจำนวนของแรงงานมีฝีมือ มีความสำคัญในการที่เป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต พบว่าแรงงานมีมือ ช่างฝีมือ นักวิจัยจะต้องมีความรู้หลายศาสตร์ เช่น ระบบการกักเก็บพลังงาน ระบบการผลิตอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นต้น เนื่องจากชิ้นส่วนของรถยนต์มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกัน ดังนั้นการเตรียมบุคลากรให้มีความสอดคล้องกับสมรรถนะที่ภาคอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การเรียนการสอนระบบการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับการทำงาน (Work Integrated Learning) เป็นการจัดการศึกษาที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ การจัดการเรียนรู้ระบบการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับการทำงาน มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ กลไกลที่ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนแบบระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการร่วมกับการทำงานสำเร็จ จะต้องได้ความร่วมมือจากสถานศึกษา และสถานประกอบการ โดยมีแนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเนื่องจากการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานจะเป็นการผสมผสานระหว่างการสอนแบบเผชิญหน้ากับการสอนออนไลน์ และการสอนในสถานที่จริงคือสถานประกอบการร่วมกันทั้ง 3 ส่วน ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในระบบ WiL จะใช้กลไกการจัดการโดยเหมืองความรู้ (Knowledge Mining) ซึ่งจะมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการร่วมกับการทำงาน ประกอบไปด้วย บุคลากรในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการเหมืองความรู้ (Knowledge Mining Director) และอาจารย์เกื้อหนุน (Facilitator) สำหรับสถานประกอบการ ได้แก่ พนักงานพี่เลี้ยง (Industrial Mentor) โดยบุคลากรในระบบ WiL จะต้องมีการให้ปรับบทบาทให้เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้นหนุนเสริมโดยเน้นให้ผู้เรียนมีวิธีหาความรู้ และพัฒนาตนเองให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง รูปแบบการจัดการเรียนแบบบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนกำหนดให้ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะที่มีความสอดคล้องกับความต้องการภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต
ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นในการศึกษาสมรรถนะของผู้เรียนแบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงานที่ภาคอุตสาหกรรมคาดหวัง การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงานโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการจัดการด้วยเหมืองความรู้ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงาน และการทดลองใช้ระบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงาน โดยผลลัพธ์ที่ได้ในโครงการวิจัยนี้จะทำให้ได้ระบบในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการเพื่อพัฒนาบัณฑิตที่มีสมรรถนะสอดคล้องตรงกับความต้องการกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์
1)
2)
3)
4)
1.3 ระเบียบวิธีวิจัย
ระยะที่ 1 ศึกษาสมรรถนะของผู้เรียนแบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงานที่ภาคอุตสาหกรรมคาดหวัง ดำเนินการวิจัยโดยการประชุมเพื่อสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อหาความต้องการของสมรรถนะที่สถานประกอบคาดหวัง และช่องว่างระหว่างสภาพปัจจุบันของผู้เกี่ยวข้องและความคาดหวังของหลักสูตร เพื่อนำมาพัฒนาออกแบบรายละเอียดโมดูล วิธีการจัดการเรียนรู้ แนวทางการวัดประเมินผล รวมถึงการออกแบบระบบการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
ระยะที่ 2 การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงานโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการจัดการด้วยเหมืองความรู้ โดยการพัฒนาแผนการเรียนรู้ในแต่ละโมดูล หลักสูตรเฉพาะทาง สำหรับหลักโมดูล และหลักสูตรเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต เช่น โมดูลระบบการผลิตอัตโนมัติอุตสาหกรรม โมดูลปัญญาประดิษฐ์สำหรับการผลิตอุตสาหกรรม โมดูลเทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรม หลักสูตรระบบโรบอติกส์ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ หลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนสำหรับยานยนต์ในอนาคต หลักสูตรระบบการกักเก็บพลังงานสำหรับยานยนต์ในอนาคต เป็นต้น
ระยะที่ 3 การเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงานโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการจัดการด้วยเหมืองความรู้ โดยดำเนินการดังนี้
3.1 การพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงาน สำหรับการเรียนในชั้นเรียนและสถานประกอบการ และการเรียนในสถานประกอบการ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ได้แก่ 1. ทฤษฎี แนวคิดและสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 2. รายละเอียดของโมดูและหลักสูตรเฉพาะทาง 3. แผนการจัดการเรียนรู้ 4. การดำเนินการจัดการเรียนรู้ 5. วิธีการจัดการเรียนรู้ และ 6. การประเมินผลการจัดการเรียนรู้
3.2 การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้ในสถานประกอบการ โดยใช้วงจรพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle, SDLC) มาพัฒนาองค์ประกอบของระบบการจัดการเรียนรู้
ระยะที่ 4 ทดลองใช้ระบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงานโดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการจัดการด้วยเหมืองความรู้ กับกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ชั้นปีที่ 4 จำนวน 20 คน ในสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการระยะเวลา 1 ปีการศึกษา
1.4 ผลการวิจัย
1) รายละเอียดและแนวคิดการจัดการเรียนรู้ระบบ WiLทั้งในและต่างประเทศ
2) ข้อมูลสถานะการณ์ปัจจุบันและภาพอนาคตของผู้ประกอบการและสถานศึกษา
3) ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษาและในสถานประกอบการ
4) ความต้องการของสมรรถนะที่สถานประกอบการประกอบคาดหวัง
5) รายละเอียดของโมดูล
6) รายละเอียดหลักสูตร
7) แผนการจัดการเรียนรู้ของโมดูล
8) แผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตรเฉพาะทาง
9) สื่อการเรียนแบบออนไลน์ของโมดูลและหลักสูตรเฉพาะทาง
10) เครื่องมือประเมินผลสมรรถนะ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
11) ระบบการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนร่วมกับการทำงาน
12) ระบบการการจัดการ WiL โดยใช้วงจรพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle)
13) นักศึกษามีสมรรถนะที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ
14) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
15) คู่มือการจัดการเรียนรู้ระบบ WiL
1.6 การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1) สถานศึกษาและสถานประกอบการมีระบบในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะสอดคล้องตรงกับความต้องการกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศต่อไป
2) สถานศึกษาและสถานประกอบการมีเครือข่ายและข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องร่วมกันในภาพองค์รวม
Keywords
No matching items found.
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.