ศึกษาที่สัมพันธ์กับความถนัดในการใช้ภาษาต่างประเทศ


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/06/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ31/05/2023


คำอธิบายโดยย่อ

ในสังคมโลกาภิวัฒน์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแชร์ข้อมูล มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างมากคือภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสาร โดยนานาชาติต่างตระหนักถึงความสำคัญในการมีสื่อกลางการสื่อสารที่ก้าวข้ามข้อจำกัดทางเชื้อชาติ ศาสนา และปัจจัยภายนอกอื่น ๆ จึงมีมาตรการการจัดการเรียนการสอนภาษากลางหรือภาษาอังกฤษให้แก่พลเมือง อนึ่งผลลัพธ์หนึ่งที่สำคัญในการวัดประสิทธิภาพของการสอนภาษา ก็คือความสามารถในการใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียน ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งเมื่อมีการจัดทำตัวชี้วัดด้านความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มสุดท้ายที่นับว่ามีความถนัดในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่ต่ำมาก (ตำแหน่ง 89 จาก 100 ประเทศที่ถูกสำรวจ) ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ในเชิงลึกจะเห็นว่ามีปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบการเรียนการสอนและวัดประเมินผล จิตวิทยา เศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เป็นต้น ทั้งนี้โครงการมีเป้าหมายที่จะแยกแยะ รวบรวม และวิเคราะห์ปัจจัยส่งผลดังกล่าว โดยขั้นต้นทำการหาข้อมูล National Syllabus ของวิชาภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ในระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อนำมาเปรียบเทียบหาข้อเหมือนและข้อต่าง นอกจากนี้ยังจะมีการเก็บข้อมูลปัจจัยเสริมที่ส่งผลต่อ hesitancy ในการใช้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่ ท้ายสุดแล้วจะสรุปผลความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับผลลัพธ์ที่วัด โดยวิเคราะห์ผ่านมุมมองเชิงจิตวิทยาและลักษณะการทำงานของสมองมนุษย์

คำสำคัญ: การเรียนรู้, ภาษากับสมอง, จิตวิทยา


คำสำคัญ

  • Learning
  • Neurolinguistics
  • Psychology


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-08-07 ถึง 14:10